หน้าปกบทความ 12 วิธี เปิดร้านซุปเปอร์สโตร์ เปิดร้านขายส่ง เปิดร้านซุปเปอร์มาร์เก็ต

เปิดร้านซุปเปอร์สโตร์ เปิดร้านขายส่งง่ายๆ แค่ทำตาม 12 ข้อนี้!

– เขียนเมื่อ : 27-5-2020, อัปเดตล่าสุด ตามที่ขึ้นใต้หัวข้อ

ยุคสมัยนี้มีผู้ประกอบการเกิดขึ้นมากมาย การเปิดร้านซุปเปอร์สโตร์, เปิดร้านขายส่ง สินค้า อุปโภค บริโภค, เปิดร้านซุปเปอร์มาร์เก็ต ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีในการทำธุรกิจ หากคุณมีทำเลที่เหมาะสม

ในคอนเทนต์นี้คุณจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านซุปเปอร์สโตร์ หรือร้านขายส่ง เพื่อเป็นแนวทางให้คุณในการดำเนินธุรกิจนี้อย่างราบรื่น เราไปดูกันเลยค่ะว่าควรทำยังไงบ้าง

อินโฟ 12 วิธี เปิดร้านซุปเปอร์สโตร์ เปิดร้านขายส่ง เปิดร้านซุปเปอร์มาร์เก็ต

INFO – เปิดร้านซุปเปอร์สโตร์ / เปิดร้านขายส่ง

ร้านซุปเปอร์สโตร์ คืออะไร?

ร้านซุปเปอร์สโตร์ในบริบทของ PN จะเป็นแนวร้านขายส่งสินค้าอุปโภค-บริโภค ลักษณะของมันจะคล้ายกับแม็คโคร ซึ่งอาจจะเล็กกว่าหรือใหญ่กว่า เน้นขายสินค้าราคาถูก ตอบโจทย์ลูกค้าที่ต้องการซื้อสินค้าราคาประหยัด รวมถึงสินค้าขายส่งด้วย

ซึ่ง PN ก็ออกแบบวางแปลนและผลิตชั้นวางสินค้าสำหรับร้านซุปเปอร์สโตร์หรือร้านขายส่งมาเยอะมาก

ตัวอย่างร้านซุปเปอร์สโตร์ by PN

ทำไมต้องเปิดร้านซุปเปอร์สโตร์/เปิดร้านขายส่ง

เทคโนโลยีและอุตสาหกรรมจำนวนมากที่สนับสนุนธุรกิจค้าปลีก จึงจะเห็นได้ว่ามีไฮเปอร์มาร์เก็ตใหญ่ ๆ อย่าง บิ๊กซี โลตัส แม็คโคร แทรกอยู่ในตัวเมืองแทบทุกจังหวัดในประเทศไทย และธุรกิจนี้ยังได้รับการตอบรับอย่างมากจากคนทั่วไป นั่นเป็นเพราะว่าความต้องการสินค้าและบริการที่สะดวกสบายของผู้บริโภค

แต่ในบางจังหวัดนั้นจะมีแค่เฉพาะในตัวเมือง แล้วในบางอำเภอไปจนถึงตำบลย่อย ๆ ลงมา อาจจะไม่มีร้านประเภทนี้ให้ผู้คนได้ไปเลือกซื้อสินค้า

การเปิดร้านซุปเปอร์สโตร์ ร้านซุปเปอร์มาร์เก็ต หรือเปิดร้านขายส่ง สินค้าอุปโภค-บริโภค จึงเป็นทางเลือกที่ดีของผู้ประกอบการ นอกจากจะได้ทำธุรกิจของตัวเองเพื่อสร้างรายได้แล้ว ยังสามารถสร้างประโยชน์ให้แก่ชาวบ้านบริเวณนั้นด้วยนะ เพราะมันทำให้พวกเขาเข้าถึงคลังการซื้อสินค้าได้ง่าย ๆ แถมยังมีผลิตภัณฑ์ให้เลือกที่หลากหลาย โดยพวกเขาไม่จำเป็นต้องนั่งรถไปไกลถึงตัวเมืองอีกด้วย

(PS. บางคนอาจเรียกว่าบิ๊กซี โลตัส ว่าซุปเปอร์มาร์เก็ตหรือห้างสรรพสินค้า แต่จริง ๆ แล้ว คำจำกัดความของธุรกิจค้าปลีกประเภทนี้คือ Hypermarket ค่ะ)

1. คาดการณ์ความเป็นไปได้ของตลาดเป้าหมาย

การศึกษาความเป็นไปได้ เป็นหนึ่งในสิ่งสำคัญที่สามารถช่วยให้คุณมีแรงผลักดันในการเริ่มต้นธุรกิจร้านซุปเปอร์สโตร์ เพราะถ้าคาดการณ์ถึงความต้องการของตลาดเป้าหมายในพื้นที่นั้น ๆ และพฤติกรรมการบริโภคของพวกเขาได้ มันจะช่วยให้คุณรู้ว่าจะตัดสินใจนำผลิตภัณฑ์ไหนมาไว้ในคลังสินค้า

แต่หากคุณไม่รู้ถึงความต้องการของคนในชุมชนนั้น ๆ คุณก็อาจจะลงทุนกับสินค้าใดสินค้าหนึ่งไปโดยเปล่าประโยชน์และไม่คุ้มทุน 

ตัวอย่างเช่น ถ้าชุมชนนั้น ๆ ที่เปิดอยู่ใกล้เคียงกับโรงเรียน คุณควรจะนำสินค้าที่เกี่ยวกับเครื่องเขียน ของที่ต้องใช้ในโรงเรียนมาสต็อกไว้เพื่อขายทั้งแบบปลีกให้กับนักเรียน  หรือจะขายส่งไปเลยให้กับร้านเครื่องเขียนในละแวกนั้นได้

2. วางแผนธุรกิจของคุณ

ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจแบบไหนก็ตาม ถ้าจะอยู่รอดได้ต้องมีแผนการที่กำหนดไว้ ซึ่งมันจะเป็นแนวทางในการควบคุมให้คุณดำเนินการทุกอย่างให้เป็นไปตามแผนอยู่เสมอ ดังนั้นการเปิดร้านขายส่งหรือซุปเปอร์สโตร์จะต้องมีแผนธุรกิจของมัน และมีการกำหนดรูปแบบทุกอย่างเป็นขั้นตอนไว้อย่างดี

ซึ่งการเขียนแผนธุรกิจนั้นมีหลายขั้นตอนมาก เราจะยกมาหนึ่งหัวข้อเป็นตัวอย่างคือ การเขียนรายละเอียดร้าน โดยการเขียนชื่อร้าน ระบุลูกค้าหลัก จุดมุ่งหมายของร้าน เช่น 

ชื่อร้าน คุ้มค่าซุปเปอร์สโตร์ / ลูกค้าหลักคือ แม่ค้าตามตลาดและชาวบ้านในชุมชน / จุดมุ่งหมายคือ มีลูกค้ามากมายเข้ามาซื้อของทำให้มีกำไรมากมายในอนาคต ซึ่งอาจมีการขยายสาขาไปที่อำเภออื่น ๆ ” แบบนี้เป็นต้น

หรือคุณอาจจะต้องปรึกษาคนในทีมและร่วมกันวางแผนให้เป็นรูปเป็นร่างออกมา แต่ในกรณีที่คุณไม่มีทักษะในการจัดทำแผนธุรกิจที่ดี คุณสามารถจ้างที่ปรึกษา เช่น นักวิเคราะห์และวางแผนธุรกิจหรือนักวิเคราะห์การตลาด เพื่อช่วยคุณได้นะคะ

3. คำนวณการเงินเพื่อลงทุน

เมื่อเริ่มต้นธุรกิจ การใช้เงินทุนนั่นก็ขึ้นอยู่กับจำนวนสินค้าที่คุณวางแผนจะขายในร้านซุปเปอร์สโตร์ การลงทุนครั้งแรกอาจใช้เงินมากหน่อยในการใช้จ่ายจนกว่าจะมีผลกำไรเข้ามา เพราะแบบนี้คุณจึงต้องจัดเตรียมเอกสาร เช่น สเปรดชีตหรือตารางคำนวณค่าใช้จ่าย ที่จะช่วยให้ประมาณเงินลงทุนเริ่มต้นที่ต้องการสำหรับการเปิดร้านครั้งนี้

ส่วนเรื่องค่าใช้จ่ายเริ่มต้นที่คุณจะต้องลงทุน ไม่ได้มีเฉพาะสำหรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจ, ค่าการก่อสร้างร้านขึ้นมา หรือค่าเช่าที่ (หากคุณเช่าร้าน) เท่านั้น ยังมีรายละเอียดอื่น ๆ มากมายทั้ง 

  • ค่าอุปกรณ์
  • ค่าชั้นวางสินค้า
  • ค่าตกแต่งร้าน
  • ค่าสินค้าคงคลัง 
  • ค่าประกัน
  • การโฆษณา
  • สาธารณูปโภค
  • เงินเดือนพนักงาน

หากคุณต้องการเปิดร้านประเภทนี้ น่าจะต้องใช้จ่ายเริ่มต้น 500k++ ถึง 1m +++ (ขึ้นอยู่กับขนาดของร้าน) พอประเมินค่าใช้จ่ายข้างต้นดูแล้ว มันเยอะมากเลยใช่ไหมล่ะคะ ถ้าคุณมีเงินทุนมากพอ นั่นก็เป็นสิ่งที่ง่ายมากขึ้น แต่ถ้าไม่มีทุน อย่าพึ่งกุมขมับไปนะ เพราะมีหลายวิธีที่จะได้รับเงินทุนสำหรับธุรกิจของคุณ เช่น สินเชื่อเพื่อธุรกิจของธนาคารต่าง ๆ ก็มีให้เลือกเยอะมากเลย ลองดูนะ

4. จดทะเบียนการค้า

เรื่องนี้เป็นสิ่งที่สำคัญมาก จะเป็นการดีกว่าถ้าคุณเปิดร้านขึ้นมาอย่างถูกกฎหมาย เพราะจะได้ไม่มีการมาตรวจสอบและปรับเงินในภายหลังจากเทศบาล คุณจะต้องลงทะเบียนธุรกิจซุปเปอร์สโตร์ของคุณเพื่อให้ได้รับอนุญาตและรับรหัสประจำตัวผู้เสียภาษี สิ่งนี้จะช่วยให้การเปิดร้านในชุมชนของคุณเป็นไปอย่างไม่มีปัญหา

หากคุณเปิดร้านที่กรุงเทพฯ คุณสามารถยื่นจดทะเบียนได้ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าในสาขาต่าง ๆ แต่ถ้าคุณอยู่ต่างจังหวัด สามารถจดได้ที่เทศบาล หรือองค์การบริหารส่วนตำบลนั้น ๆ

5. เลือกทำเลและสถานที่

ในส่วนนี้ให้คุณศึกษาความเป็นไปได้ในสถานที่หรือชุมชนนั้น ๆ ที่คุณตั้งใจจะเปิด เพราะมันจะเป็นตัวกำหนดว่า กิจการของคุณจะเติบโตไปได้รวดเร็วแค่ไหนและประสบความสำเร็จมากเพียงใด เราขอแนะนำว่า สถานที่นั้น ๆ จะต้อง

  • อยู่ในย่านที่ผู้คนเข้าถึงได้ง่าย เช่น ใกล้กับโรงเรียน ใกล้กับตลาด ชุมชนขนาดใหญ่
  • อยู่ในถนนสายหลักที่มีการสัญจรไปมาตลอด 
  • มีที่จอดรถกว้างขวางสำหรับพนักงานและลูกค้า มีลานพื้นที่กว้างพอที่จะจอดรถขนส่งสินค้าขนาดใหญ่
  • และเรารู้ว่าคุณไม่ต้องการแข่งขันกับร้านค้าอื่น ๆ ที่มีอยู่แล้ว ดังนั้นจะดีกว่ามากเลยถ้าคุณเลือกสถานที่ที่ไม่มีร้านซุปเปอร์สโตร์/ร้านขายส่งเช่นเดียวกันเปิดอยู่บริเวณนั้น

ดังนั้นพิจารณาให้ถี่ถ้วนและตัดสินใจให้ดีที่สุดถึงสถานที่ที่จะเปิดร้านซุปเปอร์สโตร์ เพราะถ้าทำเลดี ยอดขายของคุณก็จะทำกำไรได้ดีเช่นกันค่ะ

(คลิกเพื่ออ่านเพิ่มเติมเรื่อง → 8 ข้อเช็คลิสต์.. ให้คุณฉุกคิดก่อนเลือกทำเลร้านค้า )

6. ออกแบบแปลนร้านค้า 

ความรู้ด้านการออกแบบและทักษะการวางแผนร้านค้า เป็นสิ่งที่จำเป็นที่สุดสำหรับร้านค้าปลีกอย่างซุปเปอร์สโตร์/ร้านขายส่ง เพราะคุณจะต้องตรวจสอบและวางแผนพื้นที่ทั้งหมดของร้าน ว่าจะวางอะไรไว้ตรงไหน หลังจากนั้นต้องมาปรับเปลี่ยนแผนผังในการติดตั้งชั้นวางที่มีอยู่ทั้งหมด เพื่อให้สอดคล้องกับพื้นที่และการเดินเข้ามาซื้อของลูกค้า

หรือแม้กระทั่งการออกแบบพื้นที่ที่เน้นความโดดเด่นเฉพาะส่วนของร้าน เช่น บูธจัดโปรโมชั่น มุมของการวางป้ายโฆษณา และอื่น ๆ ซึ่งค่อนข้างที่จะเป็นงานหินสำหรับผู้ค้าปลีกพอสมควร เพราะต้องเน้นการดึงดูดลูกค้าให้เขาสนใจสิ่งที่ร้านของคุณนำเสนอ และมันจะสร้างรายได้ให้เข้ามาเพิ่มขึ้นจากพื้นที่นั้น ๆ กับร้านที่ถูกออกแบบมาอย่างดี

และชั้นวางสินค้า การจัดวาง Layout ต่าง ๆ จะต้องเหมาะสมสอดคล้องกับพื้นที่ของคุณด้วย

ตัวอย่างแบบแปลนร้านค้า 3D ออกแบบ by PN (☛ คลิกดูแบบร้านซุปเปอร์สโตร์ 3D ทั้งหมด)

ข่าวดีก็คือมีผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบแผนผังร้านค้า สถาปนิก ผู้รับเหมา และนักออกแบบต่าง ๆ รวมถึง PN Steel ของเราก็ยังมีทีมงานที่ออกแบบแปลนชั้นวางสินค้า แปลนร้านค้า รวมถึงผลิต ติดตั้งชั้นวางสินค้าให้คุณได้ คลิกที่นี่เพื่อดูผลงาน >> การวางแปลนชั้นวางสินค้า 3D  พวกเราสามารถช่วยดำเนินการวางแผนผังร้านค้าและบริการคุณโดยเฉพาะได้  คุณอยากได้ร้านแบบไหน ต้องการให้ร้านของคุณออกมาเป็นอย่างไร PN จัดให้ได้ค่ะ 🙂

7. จัดหาแหล่งสินค้าหรือซัพพลายเออร์

เมื่อคุณสามารถหาทำเลที่เหมาะสมที่สุดของร้านคุณได้แล้ว สิ่งต่อไปที่จะต้องทำคือการจัดหาแหล่งสินค้าหรือซัพพลายเออร์ เพื่อนำผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ มาขายในร้าน

ซัพพลายเออร์ก็คือ คนหรือองค์กรที่จัดหาสินค้าและบริการให้กับธุรกิจต่าง ๆ การที่คุณสามารถค้นหาซัพพลายเออร์ที่ให้ราคาดีได้ (เรียกง่าย ๆ ว่าราคาถูกกว่าของเจ้าอื่น) มันเป็นจุดสำคัญสู่ความสำเร็จของธุรกิจร้านซุปเปอร์สโตร์ เพราะถ้าต้นทุนสินค้าถูก ก็จะช่วยลดค่าใช้จ่ายไปได้อีกเยอะเลยทีเดียว 

ต้องเช็คให้แน่ใจว่า ซัพพลายเออร์ที่เลือกจะเข้าใจตลาดเป้าหมายของคุณอย่างแท้จริง เพื่อที่จะสามารถช่วยเลือกสินค้าที่เหมาะสมและตรงกับความต้องการของลูกค้า มิฉะนั้นคุณจะเหลือสต็อกสินค้าที่ตกค้างไว้ในคลังจำนวนมากจนมันอาจหมดอายุในอนาคต  แล้วคุณอาจสูญเสียเงินที่ลงทุนไปอย่างน่าเสียดาย

หาแหล่งซัพพลายเออร์ในการซื้อของ

แหล่งซัพพลายเออร์ร้านกีรติสโตร์

ส่วนสินค้าที่จะนำมาขาย อย่างที่เราบอกในข้อแรก ๆ ว่าดูกลุ่มเป้าหมายว่าเขาต้องการอะไรบ้าง หากเป็นพื้นที่ในชุมชนที่ใกล้เคียงกับตลาดนัด สินค้าหลัก ๆ ก็ควรจะเป็น

  • อุปกรณ์เครื่องครัว  มีด, ตะหลิว, กระทะ
  • ถุงใส่ของ  ถุงร้อนใส่แกง, หนังยางรัดแกง, ถุงหูหิ้ว
  • เครื่องปรุงต่าง ๆ น้ำปลา, น้ำมันพืช, น้ำตาล

ส่วนสินค้าอื่น ๆ ก็เป็นสินค้าหลัก ๆ ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน

  • ของใช้อุปโภค ยาสีฟัน, สบู่, ยาสระผม, ผงซักฟอก
  • ของบริโภค อาหารกระป๋อง, บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป, ขนม
  • ชุดเครื่องนอน ผ้าห่ม, หมอน, มุ้ง 

นี่ก็เป็นตัวอย่างเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เรานำมาให้คุณนำไปต่อยอด คุณควรกำหนดเป้าหมายสินค้าอย่างละเอียด เพื่อให้คุณแน่ใจว่าจะขายดีและตอบสนองลูกค้าของคุณได้อย่างตรงจุดมากที่สุด

(คลิกเพื่ออ่านเพิ่มเติมเรื่อง : เช็กลิสต์! ‘สินค้าในร้านขายของชำ’ ที่ต้องมีติดร้าน )

8. ติดตั้งอุปกรณ์สำหรับเปิดร้านซุปเปอร์สโตร์

ในการเปิดร้านซุปเปอร์สโตร์ คุณต้องเตรียมอุปกรณ์มากมายเพื่อนำมาตั้งวางประกอบกันเพื่อโชว์สินค้า รวมถึงคิดเงินกับลูกค้า ซึ่งถ้าอุปกรณ์ต่าง ๆ ไม่ครบและจัดวางได้ไม่น่าสนใจ มันจะเป็นผลให้ร้านของคุณไม่น่าเดินเข้ามาซื้อ

เราจึงขอแนะนำอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ช่วยให้คุณเปิดร้านอย่างครบวงจร (แบบที่ซื้อจากที่เดียวก็เปิดร้านได้เลย) จาก PN Steel ของเรา อุปกรณ์ที่นำมาเป็นตัวอย่างก็จะมี 

  • ชั้นวางสินค้าซุปเปอร์สโตร์ ชั้นวางขนาดใหญ่ที่จะทำให้คุณสต็อกของและโชว์สินค้าไปได้พร้อม ๆ กัน
  • ป้ายราคาติดชั้นวางสินค้า สำหรับนำไปติดราคาตามชั้นวางต่าง ๆ ซึ่งมีหลากหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับรูปแบบของชั้นวางสินค้าที่เรานำไปใช้
  • เคาน์เตอร์แคชเชียร์ สำหรับคิดเงินให้ลูกค้า
  • ชั้นวางสินค้าบนเคาน์เตอร์ ใช้วางของเพื่อดึงดูดสายตาลูกค้าในขณะที่จ่ายเงิน เผื่อเขาจะซื้ออะไรเพิ่มเติม
  • กระบะโปรโมชั่น ไว้ใส่ของที่คุณจัดโปรโมชั่นจำพวกสินค้าลดราคาต่าง ๆ 
  • แร็คสต็อกสินค้า เอาไว้สต็อกของเยอะ ๆ หรือสินค้าที่มีน้ำหนักมากไว้ที่หลังร้าน
  • รถเข็นสินค้า ช็อปสะดวก ตอบสนองลูกค้าที่ต้องการความสะดวกสบายในการช้อปปิ้ง 
  • ตู้แช่ 3 ประตู เพื่อสต็อกเครื่องดื่มและของที่ต้องแช่เย็น

นี่ก็เป็นเพียงตัวอย่างบางส่วนที่เรานำมาให้คุณได้ลองพิจารณาที่จะนำไปใช้กับร้านค้าซุปเปอร์สโตร์ของคุณค่ะ ยังมีชั้นวางสินค้าและอุปกรณ์เกี่ยวกับการเปิดร้านให้คุณได้เลือกอีกเยอะมาก คลิกที่ปุ่มด้านล่างเพื่อดูผลงานการติดตั้งชั้นวางสินค้าร้านซุปเปอร์สโตร์จากทีมงานของ PN ได้เลยค่ะ 😀

แคตตาล็อกชั้นวางสินค้า ร้านขายส่ง

ตัวอย่างอุปกรณ์ในร้านโสภณซุปเปอร์

ร้านโสภณซุปเปอร์ ร้านซุปเปอร์สโตร์ที่พัทยา จ.ชลบุรี เป็นร้านที่ PN ได้ออกแบบวางแปลนร้าน และออกแบบชั้นวางสินค้า+เคาน์เตอร์คิดเงิน ให้แบบครบเซต

ตัวอย่างอุปกรณ์ในร้านสารพัธ ซุปเปอร์สโตร์

ร้านสารพัธ ตลาดไท รังสิต จังหวัดปทุมธานี เป็นอีกร้านที่ PN ได้ออกแบบวางแปลนร้าน และออกแบบชั้นวางสินค้า เคาน์เตอร์คิดเงิน ให้แบบครบเซต ร้านนี้ใช้แร็คครอบเชลฟ์ขนาดใหญ่ มีป้ายบอกโซนสินค้า กระบะโปรโมชั่น และตู้แคชเชียร์คล้าย ๆ กับในแม็คโคร ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้ ออกแบบและผลิตโดย PN ทั้งหมดนะคะ

ตัวอย่างอุปกรณ์ในร้านบ่อน้ำซุปเปอร์สโตร์

ร้านบ่อน้ำซุปเปอร์สโตร์ จังหวัดอุดรธานี ร้านใหม่แกะกล่องของปี 2022 ที่ PN ได้ออกแบบวางแปลนและผลิตชั้นวางสินค้า เคาน์เตอร์คิดเงินให้ ร้านนี้คุมโทนสีเทา สวยแบบเรียบง่ายทันสมัย ทั้งแร็คครอบเชลฟ์ แร็คสต็อก และเคาน์เตอร์แคชเชียร์ เคาน์เตอร์ต้อนรับ เรียกได้ว่าเป็นร้านซุปเปอร์สโตร์ที่ครบครันอีกหนึ่งร้าน

9. สต็อกสินค้าในร้าน

ตัวอย่างการสต็อกสินค้าในร้านซุปเปอร์สโตร์

ชั้นวางสินค้าพร้อม! สินค้าทั้งหมดพร้อม! ถึงเวลาเริ่มจัดสต็อกกันแล้ว ด้วยสินค้าที่เหมาะสมและชั้นวางที่จัดวางไว้อย่างดี ต่อมาเราจะต้องสต็อกสินค้าในแบบที่ทำให้ลูกค้าไม่ต้องคิดเยอะในการเลือกซื้อ หรือไม่ลำบากในการพยายามมองหา-เข้าถึงสินค้ากัน

สิ่งที่ควรคำนึงเลยก็คือ พฤติกรรมการเดินช้อปของลูกค้าเขาจะเดินตามความสนใจไปเรื่อย ๆ การจัดวางสินค้าแนวเดียวกันไปไว้ใกล้ ๆ กันจึงสำคัญ

ข้อต่อมาควรสต็อกสินค้าไว้ให้เต็มชั้นวางโดยไม่ปล่อยให้โล่ง เพื่อลูกค้าจะได้เห็นว่าสินค้ามีให้เลือกเยอะ ช้อปได้จุใจ ทำให้พวกเขามั่นใจได้ว่า ไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ตามที่เขาต้องการ เขาจะหาเจอในร้านซุปเปอร์สโตร์ของคุณ ตรงจุดนี้คุณอาจใช้แร็คแบบมีป้ายบอกโซนสินค้าที่ด้านหน้า เพื่อให้ลูกค้าหาสินค้าง่ายขึ้น

ถ้าลูกค้าช้อปสินค้าที่ร้านของคุณได้อย่างสะดวกสบาย ในครั้งต่อไป แน่นอนว่าเขาจะต้องมาที่ร้านคุณอีกครั้งอย่างแน่นอนค่ะ

10. จ้างพนักงานที่เหมาะสม

จ้างพนักงานในร้านซุปเปอร์สโตร์

ธุรกิจซุปเปอร์สโตร์ไม่ใช่ธุรกิจประเภทที่คุณสามารถดำเนินการได้โดยลำพัง คุณจะต้องมีคนในทีมทำงานด้วยเพื่อความราบรื่น ฉะนั้นการจ้างพนักงานเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งจำนวนพนักงานส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับขนาดร้าน

ถ้าเปิดร้านขายส่งขนาดใหญ่ คุณต้องจ้างพนักงานให้เพียงพอต่อการทำงานในร้าน แต่ถ้าเป็นกิจการที่ไม่ใหญ่มากก็ลดจำนวนพนักงานลงให้เหมาะสมกับร้านของคุณ

การจ้างพนักงานที่เชื่อถือได้และซื่อสัตย์ พร้อมที่จะสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าและให้บริการอย่างเต็มความสามารถ เป็นสิ่งสำคัญที่ควรมีในทีมงานของคุณ เลือกพนักงานที่จริงใจ สอบถามถึงทัศนคติต่าง ๆ ในการทำงานบริการ และอย่าลืมเน้นย้ำพวกเขาให้เข้าใจถึงการทำงานที่ดี ก่อนจะนำพวกเขาเข้ามาร่วมงานด้วยนะคะ

11. เลือกระบบ POS มาใช้

ในยุคความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีนี้ มีหลายวิธีที่คุณสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างราบรื่นโดยไม่ต้องกังวลว่าจะถูกโกงหรือเสียเงิน และสิ่งที่สามารถทำได้ก็คือ… การซื้อและติดตั้งระบบ POS หรือซอฟต์แวร์ที่จะช่วยคุณติดตามผลการดำเนินธุรกิจ

คุณจะทราบได้อย่างง่ายดายว่ายอดขายที่คุณทำไปได้มีมากน้อยแค่ไหน มันจะช่วยประหยัดเวลาได้มากโดยที่คุณไม่ต้องไปคำนวณเองให้ปวดหัว โดยระบบนี้สามารถแสดงยอดขาย ติดตามสินค้าคงคลัง และเรียกใช้ให้มันรายงานทุกอย่างให้คุณได้อย่างง่ายดายเพียงกดปุ่ม

ดังนั้นการลงทุนไปกับระบบที่ดีจะช่วยให้คุณตรวจสอบกิจการของคุณได้เพียงปลายนิ้วสัมผัส ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ใดก็ตาม ลงทุนกับมันซักนิดแล้วชีวิตคุณจะง่ายและรวดเร็วขึ้นเยอะเลยค่ะ

(คลิกเพื่ออ่านเพิ่มเติม : จัดการทุกอย่างในร้านค้าให้ง่ายราวกับดีดนิ้ว!! ด้วย “ระบบ POS” )

12. โฆษณาร้านของคุณให้ลูกค้ารู้จัก

ตอนนี้ทุกอย่างเกือบจะเข้าที่แล้วใช่ไหมล่ะคะ? สิ่งต่อไปที่ต้องทำคือเปิดตัวกิจการของคุณสู่สาธารณะอย่างเป็นทางการ ในตอนนี้ต้องทำให้คนในชุมชนรับรู้ถึงธุรกิจร้านซุปเปอร์สโตร์ที่เพิ่งเปิดใหม่ของคุณ

เราแนะนำทางเลือกที่จะใช้โปรโมทง่ายตามนี้ค่ะ 

  • ทำใบปลิวเกี่ยวกับร้านของคุณและวันเวลาที่เปิดร้าน ไปแจกตามชุมชน ตลาดนัด ศูนย์อาหาร และป้ายรถเมล์
  • ติดป้ายโฆษณาที่รถโดยสารประจำทาง
  • เช่ารถและติดป้าย เพื่อประกาศการกระจายเสียง
  • จัดงาน Grand Opening เปิดร้านแล้วแจกของรางวัลพร้อมกับโปรโมชั่นสุดคุ้ม เพื่อให้คนในชุมชนนั้นมาร่วมกิจกรรม
  • โปรโมทผ่านโซเชียลมีเดียโดยการปล่อยโฆษณาแล้วปักหมุดในพื้นที่นั้น ๆ เช่น Facebook, Google my business

〈สรุป〉

พูดกันมาถึง 12 ข้อแล้ว พอจะรู้แนวทางคร่าว ๆ แล้วใช่ไหมคะ เรามาดู บทสรุป กันค่ะ

ถ้าถามว่าทำไมต้องเปิดร้านซุปเปอร์สโตร์?

ก็เพราะตามชุมชนในระดับตำบล อำเภอต่าง ๆ ตามต่างจังหวัดนั้นซุปเปอร์มาร์เก็ตหรือร้านขายส่งขนาดใหญ่ค่อนข้างหากยาก เพราะส่วนใหญ่ร้านค้าปลีกแบบนี้จะอยู่ในตัวเมือง การเปิดร้านซุปเปอร์สโตร์จึงตอบโจทย์นี้ได้สำหรับคนที่อยากทำธุรกิจ  ส่วนวิธีการเปิดร้านซุปเปอร์สโตร์ก็จะมีตามนี้

  1. คาดการณ์ความเป็นไปได้ของตลาดเป้าหมาย ว่าคนชุมชนนั้น ๆ มีพฤติกรรมการบริโภคไปในทิศทางใด
  2. วางแผนธุรกิจของคุณ ตั้งแต่ชื่อร้าน ลูกค้าหลัก ไปจนถึงเป้าหมายระยะยาว 
  3. คำนวณการเงินเพื่อลงทุน ว่ามีค่าใช้จ่ายประมาณไหน และลงทุนไปกับอะไรบ้าง 
  4. จดทะเบียนการค้า ทำตามกฎหมายเพื่อจะได้เปิดร้านอย่างถูกต้อง 
  5. เลือกทำเลและสถานที่ ให้เหมาะสมและคาดว่าจะขายได้ดี
  6. ออกแบบแปลนร้านค้า เพื่อให้รู้แผนผังร้านรวมถึงรู้ว่าควรวางชั้นวางไว้ตรงไหน
  7. หาแหล่งสินค้าหรือซัพพลายเออร์ เช็กว่าได้สินค้าราคาดี มีคุณภาพ และตรงกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด
  8. ติดตั้งอุปกรณ์สำหรับเปิดร้าน ทั้งชั้นวางสินค้า เคาน์เตอร์คิดเงิน และอื่น ๆ
  9. สต็อกสินค้าในร้าน จัดวางให้เป็นระเบียบ สินค้าประเภทคล้ายกันนำไปวางใกล้กัน
  10. จ้างพนักงานที่เหมาะสม และพร้อมจะให้บริการลูกค้า
  11. เลือกซอฟต์แวร์ POS ระบบที่จะช่วยคุณคำนวณและจัดการบัญชีมาใช้
  12. โฆษณาร้านของคุณ ให้ลูกค้ารู้จักทั้งในโซเชียลมีเดีย แผ่นพับ และเสียงตามสายต่าง ๆ

ทีนี้คุณก็ทราบถึงขั้นตอนในการเปิดร้านซุปเปอร์สโตร์ครบทั้ง 12 ข้อแล้วกันแล้วนะคะ ทั้งการจัดหาแหล่งซัพพลายเออร์ การสต็อกสินค้า การติดตั้งอุปกรณ์ ฯลฯ อาจดูเหมือนยากในช่วงเริ่มต้น แต่ถ้าคุณเรียนรู้และทำตามขั้นตอนไปทีละขั้น ก็คงไม่น่ายากเกินไปใช่ไหมคะ? เมื่อถึงช่วงเวลาหนึ่งที่คุณคุ้นชินและธุรกิจมั่นคงขึ้นเรื่อย ๆ ในอนาคต คุณจะสามารถดำเนินธุรกิจนี้ต่อไปได้อย่างง่ายขึ้นเองค่าา

ทั้งหมดนี้ก็เป็นแนวทางในการช่วยให้คุณดำเนินธุรกิจนี้ไปได้อย่างมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน คุณจะได้ไม่ต้องมานั่งคิดว่าจะ “เริ่มต้นยังไงดี?”

ต่อไปนี้ก็เป็นตาคุณแล้ว ว่าจะสานต่อความคิดนี้ไปในทางไหน และจะประสบความสำเร็จได้หรือไม่

บทความดีๆ By : ชั้นวางสินค้า PN

References

  • smallbusiness.chron.com  “How to Start Up a Mini-Grocery Store”  4/2/2019 – smallbusiness
  • paisabazaar.com “Supermarket Business Plan” 30/9/2020 – paisabazaar.com
  • smartsheet.com “The Essential Guide to Retail Store Layouts that Shape the Customer Experience” – smartsheet
  • Cr. รูปภาพบางส่วนจาก – FB เพจชลบุรีวันนี้