หน้าปกบทความ 5 วิธี ออกแบบร้านค้า พร้อมตัวอย่าง 5 แบบร้านค้า Design by PN

5 วิธีออกแบบร้านค้าอย่างไร? ให้ลูกค้าอยากเดินเข้ามาช้อป

“การออกแบบร้านค้าที่ดีตั้งแต่เริ่มต้น สามารถสร้างแรงจูงใจให้ลูกค้าอยากเดินเข้ามาซื้อของในร้านได้”

ซึ่งการสร้างแรงจูงใจให้ลูกค้าเข้ามาเต็มร้าน ไม่ใช่ว่าจะทำได้แค่ตอนที่พนักงานเดินเข้าไปพูดคุยโน้มน้าวเท่านั้น แต่คุณสามารถเริ่มทำได้ตั้งแต่ “การวางแผนผังร้านค้า” การจัดวางแปลนชั้นวางสินค้าและอุปกรณ์ต่าง ๆ ในขั้นตอนเริ่มต้นเลยทีเดียว

แล้วการวางแผนผังร้านค้า จะช่วยสร้างแรงจูงใจให้ลูกค้ามาเดินที่ร้านของเราได้ยังไง ลองอ่านบทความนี้ดูสิคะ 🙂

ทำไมการออกแบบร้านค้าจึงมีผลต่อลูกค้าที่จะเดินเข้ามาในร้าน?

ทุกคนรู้หรือไม่

คนส่วนใหญ่กว่า 90% เมื่อเดินเข้าร้านแล้วจะเลี้ยวขวามือก่อน

(อ้างอิงจาก Shopify)

เพราะแบบนี้การออกแบบแผนผังร้านค้าจึงสำคัญ ถ้าเราสามารถวางแผนผังร้านค้าให้เป็นไปตามทิศทางการเดินของลูกค้าได้ จะทำให้ลูกค้าเข้ามาในร้านค้าของเรามากขึ้น หรือมีสิทธิ์เข้ามาเต็มร้านเลยทีเดียว

การวางแผนผังร้านค้าที่ดี จึงเป็นสิ่งที่ควรทำอย่างมากในธุรกิจร้านค้าปลีก เพราะต้องอาศัยความต้องการของผู้คนในการจะซื้อของเยอะ ๆ แบบหยิบใส่ หยิบใส่..  ร้านค้าปลีกของเราถึงจะได้ขายดีและได้กำไรเป็นที่น่าพอใจ

ถ้าเราสามารถจูงใจลูกค้าได้ตั้งแต่แรกเริ่มของการสร้างร้าน ด้วยการวาง แผนผังร้านค้า หรือการวางแปลนชั้นวางสินค้าและอุปกรณ์เปิดร้านแบบเจ๋ง ๆ ตั้งแต่แรก มันก็คงจะเป็นการเริ่มต้นอย่างมีคุณภาพ ซึ่งจะส่งผลต่อยอดขายของร้านในอนาคตได้ด้วยนะ

ขั้นตอนที่หนึ่ง : สร้างความประทับใจให้ลูกค้าตั้งแต่ก้าวแรก 

ส่วนใหญ่ร้านซูเปอร์มาร์เก็ตจะออกแบบร้านค้าให้มีสองชั้นขึ้นไปเพื่อเน้นพื้นที่ให้ลูกค้าจำนวนมากเดินเข้ามา รวมถึงทำให้มีความหลากหลายของสินค้าและร้านค้าอื่น ๆ ที่จะเข้ามาเปิดด้วย ชั้นหนึ่งจึงเปรียบเสมือน First Impression ของซูเปอร์มาร์เก็ต

แต่หากร้านค้าของคุณเป็นร้านที่อาจจะไม่ได้ใหญ่เหมือนซูเปอร์มาร์เก็ต

ดังนั้น First Impression ของลูกค้าคุณคือ “ตั้งแต่หน้าร้านจนถึงลูกค้าเปิดประตูเข้ามาในร้าน”

ลูกค้าในร้านเพ็ทช็อป

ตัวอย่างการจัดร้านเพ็ทช็อป

เราขอยกตัวอย่างการใช้ภาพมาดึงดูดความชอบของลูกค้า  ลองคิดตามกันดูนะคะ 

1) ภาพแรกที่เห็นคือสแตนดี้น้องหมา น้องแมว หรือสัตว์เลี้ยงต่าง ๆ ประดับตกแต่งเป็นซุ้มอยู่กับกระบะโปรโมชั่นที่แปะป้ายว่า “สินค้าขายดี”

2) เมื่อลูกค้ามองไปรอบ ๆ จะเห็นตำแหน่งชั้นวางที่เหมาะสม มีการจัดเรียงสินค้าที่เป็นระเบียบ พร้อมกับมีป้ายน้อง ๆ สัตว์เลี้ยงทั้งหลายแปะที่ชั้นวาง เพื่อให้เกร็ดความรู้เล็ก ๆ น้อย ๆ เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงประเภทนั้น ๆ

3) มีแสงไฟโทนสีส้มผสมกับสีขาวสาดส่องลงมาให้บรรยากาศร้านดูสว่างและอบอุ่น

4) มองไปมุมหนึ่งจะมีเฟอร์นิเจอร์โต๊ะ+เก้าอี้น่ารัก ๆ วางตรงมุมร้านสำหรับคนที่มากับนักช้อปแล้วอยากนั่งรอ

5) ใกล้ ๆ กันนั้นมีหนังสือหรือนิตยสารให้ความรู้เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงวางคู่กับโต๊ะที่ให้นั่งรอ

แค่คิดภาพตามก็น่าเดินเข้าไปช้อปแล้ว ว่ามั้ยคะ? 🙂 ฉะนั้นสภาพแวดล้อมที่มีการตกแต่งที่สวยงาม และตรงกับความชอบของลูกค้า จะช่วยสร้างแรงจูงใจลูกค้าให้ประทับใจและอยากซื้อสินค้าในร้านของคุณมากยิ่งขึ้น ยังไงก็ลองปรับใช้วิธีนี้กับการวางแผนออกแบบร้านค้าปลีกของคุณดูนะ

(คลิกอ่านบทความเพิ่มเติมในเว็บ PN Store : 9 Tips ออกแบบร้านค้าปลีกให้ลูกค้าอยากเดินเข้ามาในร้าน)

ขั้นตอนที่สอง : กำหนดทิศทางการเดินของลูกค้า

การออกแบบร้านค้าด้วยการกำหนดพื้นที่ของชั้นวาง จะช่วยกำหนดทิศทางการเดินของลูกค้าให้เป็นไปตามความต้องการของคุณได้ วิธีการนี้คือ การวางแผนผังชั้นวางสินค้าให้เหมาะสมกับประเภทร้านค้าของคุณ ผสมผสานเข้ากับสินค้าหรือสิ่งที่คุณนำเสนอบนชั้นวาง 

กำหนดแผนผังร้านค้าด้วยทิศทางการเดินของลูกค้า

ตัวอย่างการกำหนดแผนผังร้านค้าด้วยทิศทางการเดินของลูกค้า

เรามาดูตัวอย่างให้เห็นภาพกันค่ะ 

  • หากคุณเปิดร้านมินิมาร์ทให้นำ “การวางแผนผังร้านค้าแบบตรง” มาใช้น่าจะเหมาะสมที่สุด 

การวางแผนผังร้านค้าแบบตรง เป็นการวางตำแหน่งชั้นวางแบบง่ายดาย ไม่ซับซ้อน โดยที่จะสร้างพื้นที่ให้ลูกค้าหยิบซื้อของได้อย่างสะดวก สามารถดึงความสนใจให้กับลูกค้าให้เดินไปจนสุดทางที่หลังร้าน และเดินวนกลับมาที่หน้าร้านได้ 

จากนั้นติดป้ายโปรโมชั่นที่น่าสนใจตรงสินค้า หรือมีสินค้าตัวอย่างให้ทดลองระหว่างนั้น เพื่อให้ลูกค้ามีส่วนร่วมในการสัมผัสสินค้าโดยใช้หลักของ Sensory Marketing ซึ่งถ้าเพิ่มการสัมผัสต่าง ๆ หรือให้ลูกค้าทดลองสินค้าได้นั้น มันจะเพิ่มความรู้สึกอยากซื้อสินค้ามากขึ้นไปอีกเยอะทีเดียวเลยค่ะ (อ้างอิง thaitrade.com )

ขั้นตอนที่สาม : หลีกเลี่ยงโซนสินค้าที่แตกต่าง

การที่ลูกค้าจะคุ้นชินกับการเดินซื้อของในร้านค้านั้น ต้องใช้เวลาตั้งแต่พวกเขาเปิดประตูเข้ามาในร้าน เมื่อเขาเดินไปเรื่อย ๆ จะเริ่มมีความเพลิดเพลิน ฉะนั้นหากมีโซนสินค้าที่แตกต่างกันมาหยุดชะงักความเพลิดเพลินของเขา อาจทำให้การตัดสินใจของลูกค้าที่อยากซื้อของนั้นมีอัตราที่ลดลงไป

แต่ถ้าเราออกแบบร้านค้าด้วยการนำสินค้าที่เป็นแนวเดียวกันมาไว้ใกล้ ๆ กัน จะทำให้ลูกค้าที่สนใจสินค้าชิ้นหนึ่ง และไล่ระดับสายตาไปจนถึงสินค้าอีกชิ้นหนึ่ง ด้วยความรู้สึกที่สมูธ เพราะสินค้ามันเป็นแนวเดียวกัน

ลองมาดูตัวอย่างกัน

  • ในร้านกิฟต์ช็อป มีสินค้ามากมายเรียงรายอยู่ มีแต่ของน่ารัก ๆ ทั้งนั้น แต่การจัดโซนสินค้านั้นจัดแบบสะเปะสะปะ สินค้าที่คล้ายกันวางไม่เป็นกลุ่มเดียวกัน ลูกค้าก็ไม่รู้จะเลือกดูอันไหนก่อน

ต่กลับกัน ร้านกิฟต์ช็อป อีกร้านหนึ่งมีสินค้าคล้าย ๆ กัน แต่มีการแบ่งโซนสินค้าที่ดี เช่น สินค้าที่เป็นกระจกก็เอาไว้ใกล้ ๆ กับหวีและยางรัดผม สินค้าที่เป็นผ้าเช็ดตัวก็เอาไว้ใกล้ๆกับหมวกคลุมอาบน้ำและใยขัดตัว เป็นต้น ซึ่งการจัดเรียงสินค้าแบบนี้ได้ผลมาก ๆ กับลูกค้า

( # อ่านเพิ่มเติมเรื่อง → 9 วิธีการจัดเรียงสินค้าในร้านค้าปลีก ให้ดึงดูดลูกค้า น่าซื้อ และเพิ่มยอดขายได้)

ขั้นตอนที่สี่ : วางแผนการเดินของลูกค้าให้เป็นแบบทวนเข็มนาฬิกา

Claus Ebster ประธาน Market Mentor บริษัทที่ปรึกษาที่เชี่ยวชาญด้านกลยุทธ์การตลาดการวิจัยผู้บริโภคและการออกแบบร้านค้า เขาได้ทำการวิจัยออกมาว่า 

“เมื่อเดินเข้ามาในร้านแล้ว ลูกค้ามักจะเลี้ยวขวา และเดินทวนเข็มนาฬิกา” 

พฤติกรรมของนี้เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าในการวิจัยผู้บริโภค ซึ่งมีการพิสูจน์แล้วว่าลูกค้าเดินไปทางขวามากกว่าถึง 90% ( อ้างอิง researchgate.net)

การที่คนส่วนใหญ่เดินไปทางขวา คุณจึงควรออกแบบร้านค้าด้วยการ จัดวางสินค้า, ป้ายโฆษณา, โปรโมชั่นที่ดึงดูดใจ เรียงไล่ระดับไว้ทางขวา แล้วทวนเข็มนาฬิกาไปเรื่อย ๆ

ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณเปิดร้านขายหนังสือ สิ่งที่ควรนำไปวางด้านขวาของร้านก็คือ เชลฟ์สำหรับวางหนังสือ ประเภท “10 อันดับยอดนิยม” เพราะมันเป็นสิ่งที่โดดเด่นและยังเป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่ชื่นชอบ จึงมีผลให้ลูกค้าเริ่มสนใจจะซื้อสินค้าตั้งแต่เริ่มเดิน

หลังจากที่เดินไปเรื่อย ๆ ลูกค้ากวาดสายตาไปทางขวา จะมีหนังสือใหม่แนะนำขึ้นมาวางโชว์ในแต่ละหมวดหมู่ ซึ่งมันสร้างความน่าสนใจให้กับร้านหนังสือของคุณให้ลูกค้าอยากเดินทวนเข็มนาฬิกาไปเรื่อย ๆ จนสุดท้ายลูกค้าก็เดินมาหยุดที่ เคาน์เตอร์คิดเงิน ควักกระเป๋าตังค์ออกมาจ่ายเงินให้คุณแบบที่ไม่ต้องมีใครไปพูดชักจูงอะไรเลยล่ะ

ขั้นตอนที่ห้า : หลีกเลี่ยงทางเดินแคบ ๆ

เคยเป็นใช่ไหมคะ? เวลาไปเดินซื้อของที่ทางเดินมันแคบซะจนเดินเบียดไหล่กับคนอื่น มันทำให้คุณเสียอารมณ์จนไม่อยากซื้อในที่สุด เช่นเดียวกันค่ะ ถ้าร้านค้าปลีกของคุณ ออกแบบผังร้านค้าให้มีทางเดินที่แคบ ๆ ลูกค้าก็คงไม่เอนจอยกับการเดินซื้อของในร้านของคุณเหมือนกัน

Paco Underhill ผู้เขียนและผู้ก่อตั้ง Envirosell บริษัทที่ปรึกษาและวิจัยการตลาด กล่าวไว้ว่า 

“ลูกค้าส่วนใหญ่โดยเฉพาะผู้หญิงให้ความสำคัญกับพื้นที่ส่วนตัวของตนมาก เมื่อกำลังเลือกซื้อสินค้า หากพวกเขาถูกสัมผัสกระแทก หรือถูกขัดจังหวะขณะที่กำลังสนใจสินค้า พวกเขามีแนวโน้มที่เลิกสนใจสินค้านั้นหรือเดินออกจากร้านไปเลย” 

( อ้างอิง researchgate.net ) 

ฉะนั้นไม่ว่าคุณจะเปิดร้านค้าแบบไหนการวางแผนผังร้านค้าด้วยจัดตำแหน่งชั้นวางสินค้าให้มีระยะห่างที่กว้างพอดี จะช่วยให้ร้านค้าของคุณไม่แคบ ดูน่าเดินเข้าไปซื้อ เวลาที่ลูกค้ากำลังซื้อของพวกเขาจะได้เพลิดเพลินเต็มที่โดยไม่มีอะไรมาขัดจังหวะ ถือว่าเป็นการลดความรู้สึกแย่ให้กลายเป็นความรู้สึกสบายใจในเดินซื้อของในร้านค้าของคุณต่อไป

ตัวอย่างการออกแบบจัดวางแปลนชั้นวางสินค้า 3D ในร้านค้า

สำหรับ PN Steel ของเรา หากลูกค้าที่สั่งผลิตชั้นวางสินค้าเพื่อเปิดร้านกับเรา เรามีบริการออกแบบจัดวางแปลนชั้นวางสินค้า 3D ในร้านค้าให้ด้วย (เพื่อให้ทราบราคาและจำนวนชั้นวางที่ต้องใช้) จึงมีผลงานการออกแบบมากมาย

แต่ผู้เขียนจะนำมาให้ดูเป็นตัวอย่างสำหรับผู้อ่านที่เข้ามาดูบทความของเราประมาณ 5 แบบร้านเพื่อให้ทุกคนได้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้นว่าการออกแบบร้านค้าปลีกควรเป็นอย่างไร

1. ร้านขายของชำ

การออกแบบร้านค้า 3D จัดวางแปลนชั้นวางสินค้า เคาน์เตอร์คิดเงิน และตู้แช่ ในร้านขายของชำ

เซตนี้ประกอบไปด้วย

  • ริมผนัง : ชั้นวางสินค้าหน้าเดียว 4 ความสูง 180 ซม.
  • กลางห้อง : ชั้นวางสินค้าสองหน้า 4 ชั้น ความสูง 150 ซม.
  • หน้าร้าน : เคาน์เตอร์คิดเงิน ขนาด 120 ซม.
  • หลังร้าน : ตู้แช่เครื่องดื่ม 3 ประตู
การออกแบบร้านค้า 3D จัดวางแผนผังร้านขายของชำ

จุดเด่นของการออกแบบร้านค้าปลีกร้านนี้คือ

  • มีความเรียบง่ายตรงตามการจัดร้านทั่วไป
  • จัดตู้แช่ไว้หลังร้าน เหมาะกับเจ้าของร้านที่ต้องการให้ลูกค้าเดินชมสินค้าอื่น ๆ ก่อนไปถึงตู้แช่เครื่องดื่ม
  • จัดเคาน์เตอร์คิดเงินไว้หน้าร้าน สะดวกต่อการจ่ายเงิน

2. ร้านมินิมาร์ท

การออกแบบร้านค้า 3D จัดวางแปลนชั้นวางสินค้า เคาน์เตอร์คิดเงิน และตู้แช่ ในร้านมินิมาร์ท

เซตนี้ประกอบไปด้วย

  • ริมผนัง : ชั้นวางสินค้าหน้าเดียว 5 ชั้น ความสูง 180 ซม.
  • กลางห้อง : ชั้นวางสินค้าสองหน้า 4 ชั้น ความสูง 150 ซม.
  • หน้าร้านฝั่งขวา : เคาน์เตอร์คิดเงิน ขนาด 180 ซม.
  • หน้าร้านฝั่งซ้าย : ตู้แช่เครื่องดื่ม 3 ประตู + 2 ประตู
การออกแบบร้านค้า 3D จัดวางแผนผังร้านมินิมาร์ท

จุดเด่นของการออกแบบร้านค้าปลีกร้านนี้คือ

  • จัดเคาน์เตอร์ไว้ที่หน้าร้าน มองเห็นง่าย สะดวกต่อการจ่ายเงิน
  • จัดตู้แช่ไว้ที่หน้าร้าน ง่ายต่อการหยิบซื้อสำหรับลูกค้าที่ต้องการความรวดเร็ว
  • จัดร้านด้วยความเรียบง่าย ทำให้ผู้ที่เข้ามาช้อปสามารถเลือกซื้อสินค้าได้อย่างสะดวกสบาย

3. ร้านอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์และวัสดุก่อสร้าง

การออกแบบร้านค้า 3D จัดวางแปลนชั้นวางสินค้า ชั้นแร็ค และเคาน์เตอร์แคชเชียร์ ในร้านฮาร์ดแวร์และวัสดุก่อสร้าง

เซตนี้ประกอบไปด้วย

1. ริมผนัง : ใช้ชั้นสต็อกสินค้าขนาดใหญ่ 3 ชั้น

2. กลางห้อง : ใช้แร็คครอบชั้นวางสินค้าสั่งผลิตกลางห้อง ดีเทลประกอบไปด้วย

  • ชั้นสต็อก 2 ชั้น + ชั้นวางสินค้า 4 ชั้น
  • ชั้นสต็อก 2 ชั้น + ชั้นแขวนฮุก สำหรับแขวนเครื่องมือช่าง
  • ชั้นวางสินค้ากลางห้อง 4 ชั้น
  • ชั้นวางสินค้าทุกแถวมีป้ายหน้าแร็คสำหรับบอกโซนสินค้า

3. หลังร้าน : ใช้แร็คครอบชั้นตะกร้าข้อต่อ PVC ผสมชั้นโชว์ท่อ PVC แบบยาว

4. หน้าร้าน : ใช้เคาน์เตอร์แคชเชียร์ สั่งผลิตให้เป็นโทนสีเดียวกับชั้นวางสินค้า

5. ระหว่างทางเดินทั้งหน้าร้าน กลางร้าน และหลังร้าน : มีกระบะโปรโมชั่นหรือซุ้มสินค้าโปรโมชั่น

***ทั้งหมดเป็นงานสั่งผลิตพิเศษ***

การออกแบบร้านค้า 3D จัดวางแผนผังร้านฮาร์ดแวร์และวัสดุก่อสร้าง

จุดเด่นของการออกแบบร้านค้าปลีกร้านนี้คือ 

  • แม้จะมีโซนที่หลากหลาย แต่ออกแบบวางแปลนได้ชัดเจน รู้ได้เลยว่าอะไรอยู่ตรงจุดไหน ทำให้ง่ายต่อการเดินช้อปปิ้ง
  • ชั้นวางสินค้าและเคาน์เตอร์แคชเชียร์ที่มีความคุมโทนตามสีของแบรนด์ เพิ่มความน่าดึงดูดให้แก่ลูกค้าได้ดีเยี่ยม
  • การออกแบบชั้นวางสินค้าที่สามารถสต็อกสินค้าและวางสินค้าได้ 2 ต่อ มีประโยชน์และประหยัดพื้นที่ได้เป็นอย่างดี

คลิกเพื่อดู > ผลงานการออกแบบวางแปลนชั้นวางสินค้าร้านนี้

3. ร้านเครื่องสำอาง

การออกแบบร้านค้า 3D จัดวางแปลนชั้นวางสินค้า และเคาน์เตอร์แคชเชียร์ ในร้านเครื่องสำอาง

เซตนี้ประกอบไปด้วย

  • ริมผนังรอบ ๆ ร้าน : ใช้ชั้นวางสินค้า 6 ชั้น แบบมีตู้เก็บของด้านล่าง+กล่องไฟด้านบน
  • กลางห้อง : ใช้ชั้นวางสินค้าสองหน้าหลังทึบ 5 ชั้น แบบมีรางใส่ป้ายแบรนด์
  • หน้าร้าน : ใช้เคาน์เตอร์แคชเชียร์โทนสีเดียวกับชั้นวางสินค้า

***ทั้งหมดเป็นงานสั่งผลิตพิเศษ***

การออกแบบร้านค้า 3D จัดวางแผนผังร้านเครื่องสำอาง

จุดเด่นของการออกแบบร้านค้าปลีกร้านนี้คือ

  • มีความเรียบง่ายตรงตามการจัดร้านทั่วไป
  • จัดตู้แช่ไว้หลังร้าน เหมาะกับเจ้าของร้านที่ต้องการให้ลูกค้าเดินชมสินค้าอื่น ๆ ก่อนไปถึงตู้แช่เครื่องดื่ม
  • จัดเคาน์เตอร์คิดเงินไว้หน้าร้าน สะดวกต่อการจ่ายเงิน

คลิกเพื่อดู > ผลงานการออกแบบวางแปลนชั้นวางสินค้าร้านนี้

4. ร้านซุปเปอร์สโตร์หรือร้านขายส่ง

การออกแบบร้านค้า 3D จัดวางแปลนชั้นวางสินค้า ชั้นแร็ค และเคาน์เตอร์แคชเชียร์ ในร้านซุปเปอร์สโตร์หรือร้านขายส่ง

เซตนี้ประกอบไปด้วย

1. ริมผนังรอบ ๆ ร้าน : ใช้ชั้นสต็อกสินค้า 6 ชั้น

2. กลางห้อง : ใช้แร็คครอบชั้นวางสินค้า (ชั้นสต็อกสินค้า 2 ชั้น + ชั้นวางสินค้า 4 ชั้น)

3. หน้าร้าน : ใช้เคาน์เตอร์แคชเชียร์สั่งผลิตเป็นชุดแบบในห้าง ด้านในเคาน์เตอร์มีตู้เก็บของ ที่แขวนถุง ลิ้นชักต่าง ๆ

4. ด้านข้างร้าน : มีเคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์ ใช้เป็นจุดบริการ Customer Service

5. ด้านหลังร้านฝั่งซ้าย

  • ชั้นวางสินค้าหลังทึบกลางห้อง 5 ชั้น มีรางใส่ป้ายแบรนด์
  • ชั้นวางสินค้าหลังทึบริมผนัง 6 ชั้น มีกล่องไฟสำหรับป้ายแบรนด์
  • กระบะโปรโมชั่นติดแถบป้ายโทนสีเดียวกับชั้นวางสินค้าและเคาน์เตอร์

***ทั้งหมดเป็นงานสั่งผลิตพิเศษ***

การออกแบบร้านค้า 3D จัดวางแผนผังร้านซุปเปอร์สโตร์หรือร้านขายส่ง

จุดเด่นของการออกแบบร้านค้าปลีกร้านนี้คือ

  • ชั้นวางสินค้า เคาน์เตอร์แคชเชียร์ และเคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์มีความคุมโทน และมีการตกแต่งด้วยป้ายต่าง ๆ ที่เป็นสีแบรนด์ ทำให้ร้านดูสวยงาม โดดเด่น และทันสมัยมากขึ้น
  • จัดโซนสินค้าสำหรับบริการลูกค้าหลากหลาย ทั้งโซนช้อปปิ้ง โซนเซอร์วิส โซนบิวตี้
  • ป้ายบอกโซนสินค้า มีความละเอียด ชัดเจน ทำให้ง่ายต่อลูกค้าในการเดินช้อป

คลิกเพื่อดู > ผลงานการออกแบบวางแปลนชั้นวางสินค้าร้านนี้

〈สรุป〉

ทำไมการออกแบบร้านค้าจึงมีผลต่อลูกค้าที่จะเดินเข้ามาในร้าน?

: เพราะการสร้างแรงจูงใจให้ลูกค้าเดินซื้อของในร้านของคุณมากขึ้น สามารถทำได้ตั้งแต่เริ่มต้นวางแผนผังร้านค้า

ขั้นตอนแรก : กำหนดเป้าหมายให้ดีตั้งแต่ลูกค้าก้าวขาเข้ามาในร้าน สร้างความประทับใจให้ลูกค้าตั้งแต่แรกเห็น

ขั้นตอนที่สอง : กำหนดทิศทางการเดินของลูกค้าด้วยการใช้แผนผังชั้นวางที่เหมาะกับร้านค้าของคุณ

ขั้นตอนที่สาม : หลีกเลี่ยงโซนสินค้าที่แตกต่างเพื่อให้ลูกค้าเดินซื้อของได้อย่างราบรื่น 

ขั้นตอนที่สี่ : วางแผนการเดินของลูกค้าให้เป็นแบบทวนเข็มนาฬิกาที่เป็นกลยุทธ์ตามสากลที่มีการวิจัยแล้วว่าใช้งานได้จริง 

ขั้นตอนที่ห้า : หลีกเลี่ยงทางเดินแคบ ๆ เพื่อลดความรู้สึกไม่ดีของลูกค้า 

เป็นยังไงกันบ้างคะกับบทความนี้ที่เรานำมาเสนอให้ทุกคนได้อ่าน หวังว่าจะได้รับประโยชน์เพื่อนำไปปรับใช้กับร้านค้าปลีกของคุณนะคะ

หากอยากรู้จัก PN มากขึ้น ฝากดูแคตตาล็อกสินค้า หรือเยี่ยมชมเว็บไซต์ได้เลยน้า

บทความดีๆ By : ชั้นวางสินค้า PN

References

  • smartsheet.com “The Essential Guide to Retail Store Layouts that Shape the Customer Experience” smartsheet
  • marketingoops.com  “จิตวิทยา “การจูงใจ” ให้คนคล้อยตามคุณ เคล็ดลับที่ใช้ได้กับทุกธุรกิจ” 31/7/2017 marketingoops
  • researchgate.net “Store design and visual merchandising: Creating store space that encourages buying” researchgate
  • researchgate.net “Why We Buy: the Science of Shopping”  researchgate
  • shopify.com “‘The Ultimate Guide to Retail Store Layouts” 18/1/2017 shopify