✎ เขียนและ Published May 19, 2564 (อัพเดตล่าสุดตามที่ขึ้นใต้หัวข้อ)
สำหรับใครที่กำลังจะเปิดร้านวัสดุก่อสร้างและมองหาตัวอย่างในการทำร้านอยู่ ตามมาทางนี้เลยค่ะ เพราะเราได้นำ “แบบร้านวัสดุก่อสร้าง” หลากหลายตัวอย่างจากลูกค้าที่ไว้ใจให้ PN ออกแบบร้านค้าและติดตั้งชั้นวางสินค้าให้ รวมถึงร้านวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ รวบรวมมาไว้ที่นี่ ให้คุณได้เก็บไว้ใช้เป็นไอเดียในการออกแบบร้านวัสดุก่อสร้างของตัวเอง
และในปี 2022 นี้ ผู้เขียนได้มีการอัพเดตเพิ่มเติมร้านใหม่ ๆ ที่ไว้ใจใช้บริการจาก PN มากขึ้น รวมถึงรูปภาพ เนื้อหาต่าง ๆ ไว้สำหรับลูกค้าท่านใหม่ ๆ ที่เข้ามาไว้แล้วน้าา หวังว่าคนที่เข้ามาดูจะชอบเนื้อหา+รูปร้านใหม่ ๆ ที่เรานำมาฝากเพิ่มเติมนะคะ
1. แบบร้านวัสดุก่อสร้าง (หน้าร้าน)
หน้าร้านเป็น First impression ของทุก ๆ คนที่ผ่านไปผ่านมา และคนที่สัญจรบริเวณนั้นก็มีโอกาสที่จะกลายมาเป็นลูกค้าของคุณ ไม่เว้นแม้แต่คนที่ดูรูปร้านของคุณผ่านโซเชียลมีเดีย เว็บไซต์ หรือ Google map เขาก็ย่อมเห็นหน้าร้านของคุณเป็นสิ่งแรกอยู่แล้ว
ดังนั้นการมีหน้าร้านที่สวยงามเป็นระเบียบ มีป้ายบอกอย่างชัดเจนว่าร้านของคุณขายอะไร รวมถึงแบรนด์สินค้าต่าง ๆ ติดไว้อย่างดี มันจะช่วยเพิ่มความน่าสนใจ ดึงดูดลูกค้าให้เข้ามาซื้อสินค้าที่ร้านของคุณอย่างง่ายดายเลยทีเดียวค่ะ
1.1 แบบหน้าร้านจากร้านลูกค้า PN
บอกไว้ก่อนนะว่า PN ไม่ได้รับออกแบบป้ายหน้าร้านนะคะ เราออกแบบแปลนร้าน ออกแบบผลิตชั้นวางสินค้าและเคาน์เตอร์คิดเงินตามโทนสีของแบรนด์+ความต้องการของลูกค้าเท่านั้นค่ะ
ซึ่งลูกค้าที่สั่งผลิต ชั้นวางสินค้า จาก PN มีลูกค้าที่เป็นร้านวัสดุก่อสร้างมากมายเลยค่ะ เราก็เลยขอนำรูปหน้าร้านของลูกค้าพีเอ็นมาเป็นไอเดียให้คุณด้วย ลองไปดูกันเลยค่า 😀
1. ฮาร์ดแวร์คิง
ร้านที่รวมสินค้าฮาร์ดแวร์และวัสดุก่อสร้างเข้าไว้ในร้านเดียว ตกแต่งร้านโทนสีเขียว-ส้ม โทนเดียวกับธีมของร้าน นอกจากนี้ร้านฮาร์ดแวร์คิง ยังสั่งผลิตชั้นวางสินค้ากับ PN ให้ออกแบบ-ผลิตชั้นวางในร้านให้เป็นสีเดียวกับแบรนด์อีกด้วยนะ (ดูแบบชั้นวางสินค้าร้านฮาร์ดแวร์คิง) สร้างเอกลักษณ์ของแบรนด์ได้อย่างดีเยี่ยม
ดูข้อมูลเพิ่มเติมร้านนี้ : เพจฮาร์ดแวร์คิง / เว็บฮาร์ดแวร์คิง / แมพฮาร์ดแวร์คิง
2. ฟูลเฮาส์สโตร์
เป็นแบบหน้าร้านวัสดุก่อสร้างอีกร้านที่สวยมากค่ะ ใช้สีเหลือง-ดำ เสริมความโดดเด่นให้กับร้าน ติดป้ายแบรนด์เกี่ยวกับวัสดุก่อสร้างไว้ให้ลูกค้ามองเห็นแต่ไกล ร้านฟูลเฮาส์สโตร์ เป็นร้านวัสดุก่อสร้างที่มีชื่อเสียงในจังหวัดร้อยเอ็ด
ดูข้อมูลเพิ่มเติมร้านนี้ : เพจฟูลเฮาส์ / เว็บฟูลเฮาส์ / แมพฟูลเฮาส์
3. ห้าแยกกรุ๊ป
ร้านวัสดุก่อสร้างขนาดใหญ่จากจังหวัดตาก เรียกได้ว่าเป็นเหมือนห้างสรรพสินค้าของบรรดาผู้รับเหมาทางภาคเหนือเลยทีเดียวค่ะ ตกแต่งหน้าร้านให้มองเห็นป้ายชื่อร้านอย่างชัดเจน ดูเรียบหรูและโดดเด่นมาก
ดูข้อมูลเพิ่มเติมร้านนี้ : เพจห้าแยกกรุ๊ป / เว็บห้าแยกกรุ๊ป / แมพห้าแยกกรุ๊ป
4. แหลมฉบังโฮมมาร์ท
ร้านนี้ออกแบบให้มีความโมเดิร์นทันสมัย ใช้สีดำให้ร้านดูมีความแข็งแกร่งสมกับเป็นร้านวัสดุก่อสร้าง ผสานกับสีเหลืองให้ดูมีลูกเล่นและสดใสขึ้นมาได้อย่างลงตัว
ดูข้อมูลเพิ่มเติมร้านนี้ : เพจแหลมฉบัง / แมพแหลมฉบัง
5. Shop Home เหลียงฮะเฮง
เป็นศูนย์รวมวัสดุก่อสร้างที่ใหญ่อีกร้านหนึ่งในจังหวัดลำปาง ป้ายชื่อร้านใช้สีแดงตัดกับน้ำเงินสุดคลาสสิค พร้อมชูความ Out Standing ให้ป้ายแบรนด์สินค้าเด่นด้วยสีเหลือง
ดูข้อมูลเพิ่มเติมร้านนี้ : เพจร้าน shopโฮม / แมพร้าน shopโฮม
6. โชคชัยสตีล
ร้านนี้เลือกทำร้านโทนสีขาวเรียบง่ายดูคลีน มีกลิ่นอายของความมินิมอล ติดป้ายแบรนด์สินค้าเรียงรายไว้เพื่อให้ดึงดูดมากขึ้น พร้อมใช้ตัวอักษรสีแดงกับน้ำเงินช่วยเพิ่มความเป็นทางการให้กับร้าน
ดูข้อมูลเพิ่มเติมร้านนี้ : แมพโชคชัยสตีล
9. เด่นเจริญวัสดุ
เป็นแบบหน้าร้านทั่วไปที่เราอาจเห็นได้ตามร้านวัสดุก่อสร้างส่วนใหญ่ โดยจะเน้นไปที่ป้ายแบรนด์สินค้าหลักที่ร้านนี้ขาย ตามมาด้วยโทนสีของแบรนด์นั่นเอง
ดูข้อมูลร้านนี้ : เพจเด่นเจริญ / แมพเด่นเจริญ
10. ช. ทวีรุ่งทรัพย์
เช่นเดียวกันคือใช้โทนสีของแบรนด์หลักของสินค้าที่ขายมาทำเป็นป้าย
ดูข้อมูลร้านนี้ : เพจช.ทวีรุ่งทรัพย์ / แมพช.ทวีรุ่งทรัพย์
11. พรชัยโฮมเซนเตอร์
หลังจากที่เราเคยลงรูปหน้าร้านของพรชัย โฮมเซ็นเตอร์ ไว้ในปี 2021 ซึ่งตอนนั้นยังเป็นป้ายร้านแบบเก่าอยู่ แต่ปัจจุบันทางร้านได้อัพเดตป้ายร้านใหม่แล้วนะคะ ฟ้อนต์ยังเหมือนเดิม ป้ายร้านยังสีแดงเหมือนเดิม แต่สิ่งที่เพิ่มเติมเข้ามาคือป้ายแบรนด์สินค้าที่ติดอยู่ด้านบน (จากที่ก่อนหน้านี้เป็นพื้นที่สีแดงโล่ง ๆ ) เพิ่มความน่าสนใจให้กับหน้าร้านมากขึ้น ถือว่าสวยขึ้นมาก ๆ เลยค่ะ
ดูข้อมูลร้านนี้ : แมพร้านพรชัย
12. จำรัสวัสดุก่อสร้าง
เป็นอีกร้านที่ออกแบบหน้าร้านให้มีความเรียบง่าย เน้นใช้สีน้ำเงินตัดด้วยสีขาว พร้อมใช้สีแดงของฟ้อนต์เป็นชื่อร้านให้มีความเด่นตรงกลาง ด้านซ้ายลิสต์สิ่งที่ขายเพิ่มองค์ประกอบที่ทำให้ทราบสโคปสินค้าภายในร้านด้วยนะ
ดูข้อมูลร้านนี้ : เพจร้านจำรัส / แมพร้านจำรัส
13. เล็กก่อสร้างอุดร
เป็นร้านที่ออกแบบป้ายได้สวยมาก ใช้โทนสีน้ำเงินให้ความรู้สึกเป็นทางการ เสริมด้วยป้ายร้านสีเหลืองที่เฉดสีตัดกันได้อย่างโดดเด่น มีการไล่สีตัวอาคารให้ดูมีลูกเล่น พร้อมติดโลโก้และป้ายแบรนด์ให้ดูครบครัน
ดูข้อมูลร้านนี้ : แมพร้านเล็กก่อสร้าง
14. มงคลเพิ่มทรัพย์
ร้านนี้ใช้สีส้มที่เป็นสีของแบรนด์ ซึ่งเป็นการออกแบบที่มีความทันสมัยมาก ป้ายแบรนด์สินค้าก็จัดวางได้อย่างเป็นระเบียบ มองแล้วสบายตามาก ๆ เลยค่ะ
ดูข้อมูลร้านนี้ : เพจร้านมงคลเพิ่มทรัพย์ / แมพร้านมงคลเพิ่มทรัพย์
15. ร้านอาดัม กรุ๊ป 2014
อาดัมกรุ๊ป เลือกออกแบบโลโก้แบรนด์ไว้ที่ฝั่งซ้าย ทำให้เมื่อเรามองแล้วมีจุดโฟกัสที่ป้ายร้านก่อนตามมาด้วยการจัดเรียงป้ายแบรนด์ต่าง ๆ ไปทางฝั่งขวา ถือว่าเป็นการออกแบบที่เรียบง่ายและดูดีอีกร้านนึงเลยค่ะ
ดูข้อมูลร้านนี้ : เพจร้านอาดัมกรุ๊ป 2014
16. ร้านเครื่องมือคับ
ร้านเปิดใหม่ย่านพุทธมณฑลสาย 1 ออกแบบป้ายร้านได้สวยทันสมัยมาก ทั้งโทนสีของแบรนด์ที่เป็นสีเหลือง-เทา ที่ผสานสีสันสดใสและความแข็งแกร่งของความเป็นวัสดุก่อสร้าง+เครื่องมือฮาร์ดแวร์ได้อย่างลงตัว นอกจากนี้เจ้าของร้านยังเลือกสั่งผลิตชั้นวางสินค้าจาก PN ด้วยสีชั้นวางที่เป็นสีเดียวกับแบรนด์อีกด้วยค่ะ
ดูข้อมูลร้านนี้ : เพจร้านเครื่องมือคับ / เว็บเครื่องมือคับ / แมพร้านเครื่องมือคับ
17. ร้านโฮมสุขภัณฑ์
ร้านโฮมสุขภัณฑ์ เชียงใหม่ เป็นอีกร้านที่เป็นลูกค้าของ PN ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งร้าน ปัจจุบัน ร้านนี้เป็นร้านวัสดุก่อสร้างและอุปกรณ์ตกแต่งร้านที่ใหญ่มากในจังหวัดเชียงใหม่ สีแบรนด์ของร้านนี้จะเป็นสีม่วง จึงเลือกใช้ป้ายร้านสีม่วง ที่ผสมผสานกับสีขาวได้อย่างเรียบหรูดูดี
ดูข้อมูลร้านนี้ : เพจร้านโฮมสุขภัณฑ์ / เว็บโฮมสุขภัณฑ์ / แมพร้านโฮมสุขภัณฑ์
18. ร้านพีโฮม
ร้านพีโฮมเป็นอีกร้านที่ออกแบบป้ายร้านได้ตอบโจทย์มาก ด้วยโลโก้ที่ถูกสร้างสรรค์ด้วยรูปบ้าน ทำให้เข้ากันได้เป็นอย่างดีกับความเป็นร้านวัสดุก่อสร้าง
ดูข้อมูลร้านนี้ : เพจร้านพีโฮม
#PS. แบบหน้าร้านที่เรานำมาให้ดู เรามีเป้าหมายคืออยากเป็นคลังไอเดียคล้ายกับ Pinterest ที่คุณสามารถใช้เพื่อหาไอเดียนำไปต่อยอดในการครีเอทร้านในแบบฉบับของตัวเองให้ได้มากที่สุด (ใช้เป็นไอเดียได้ แต่อย่าลืมใส่เอกลักษณ์ที่สื่อของความเป็นร้านในแบบของคุณเองด้วยนะคะ :D)
19. CS khaoyai
ร้านนี้ เป็นร้านที่มีคุณคลิกดูมากที่สุดในบทความของเรา ด้วยโทนสีที่เข้ากับความเป็นวัสดุก่อสร้าง เทา-แดง ที่ดูเข้มแต่ก็มีสีสัน ทำให้เป็นหน้าร้านอีกแบบนึงที่น่าสนใจค่ะ
หน้าร้าน CS khaoyai : Pic by cskhaoyaiconcrete
21. DOHOME
ร้านนี้ใช้สีออกแบบโลโก้ให้ดูทันสมัยสไตล์ตะวันตก ใช้แบรนด์ที่ดึงสายตาพร้อมกับเพิ่มสโลแกนที่ชวนอ่าน+ป้ายยินดีต้อนรับให้ดูน่าเดินเข้าไปในร้าน
หน้าร้าน Do Home : Pic by smeleader
22. ไทวัสดุ
ร้านที่ทุกคนคงจะคุ้นเคยกันดี ออกแบบโครงสร้างป้ายเป็นรูปบ้านเป็นสัญลักษณ์สื่อถึงสิ่งที่เราขาย พร้อมติดป้ายแบรนด์สินค้า มองแล้วรู้ทันทีว่าเป็นร้านวัสดุก่อสร้าง หรือจะเพิ่มดีเทลที่น่าดึงดูดด้วยสแตนดี้ที่น่าร้านก็น่ารักดีนะ
หน้าร้านไทวัสดุ หนองจอก by Youtube : Thaiwatsadu
หน้าร้านไทวัสดุ พระราม 2 : Pic by thairath
23. Super Home
เป็นอีกร้านที่เถ้าแก่หลายคนชอบ และเล็งไว้ว่าจะใช้ป้ายร้านแบบนี้ เรียกว่าเป็นการออกแบบป้ายร้านที่ตอบโจทย์มาก ๆ เลยค่ะ
หน้าร้าน Super Home : Pic by nakonchon
25. C Home
การมีพื้นที่เยอะ ทำให้การออกแบบหน้าร้านสนุดมากขึ้น เพราะจะมีการใส่ดีเทลต่าง ๆ หน้าร้านได้ได้ตามใจชอบ ร้านนี้ก็เป็นอีกร้านนึงที่สวยโมเดิร์นมาก ๆ ค่ะ
หน้าร้าน C Home : Pic by nakonchon
27. SCG Home solution
ร้านของ SCG เลือกใช้สีแดงที่เป็นสีของแบรนด์ นำมาออกแบบป้ายและตัวอาคารสีเทาให้มีความโมเดิร์นทันสมัย และยังมีป้ายโฆษณา ป้ายบอกทางเข้า-ออกต่าง ๆ อีกด้วย
หน้าร้าน SCG Home solution : Pic by brandbuffet
3.1 แบบหน้าร้านต่างประเทศ
แบบร้านในต่างประเทศ ส่วนใหญ่มีการออกแบบคล้ายกับรูปบ้าน และจะมีป้ายร้านที่ถูกออกแบบมาเพื่อสร้างแบรนด์ของร้านนั้น ๆ โดยตรง
ร้านของต่างประเทศจะเน้นเอาเครื่องมือช่างไปโชว์ไว้หน้าร้าน (จะต่างกับร้านของไทยตรงที่ ร้านของไทยมักจะนำป้ายแบรนด์สินค้ามาติดไว้ที่หน้าร้าน) ซึ่งเราว่ามันก็ให้ความรู้สึกที่สวยงาม เรียบง่าย และมีเอกลักษณ์ดีค่ะ
28. Slegg Building Materials
โทนสีเทา-แดงมาอีกแล้วค่าา ไม่แปลกใจว่าหลาย ๆ คนจะชอบเลย เพราะเรียบง่ายแต่ดูดุดัน เข้ากับความเป็นร้านวัสดุก่อสร้างมากค่ะ ส่วนการจะร้านจะเน้นการเปิดหน้าร้านให้ดูเข้าถึงง่าย เปิดโล่งให้เห็นสินค้าชัดเจน และใช้เสาแบบอิฐที่ดูแข็งแรงแถมยังเป็นสไตล์
Pic by : FB/SleggBuildingMaterials
29. Home Hardware
มาถึงร้านที่มีคนสนใจมากที่สุดบน Google Search! นั่นก็คือร้าน Home Hardware จากประเทศแคนาดา ร้านนี้เค้าเลือกใช้โทนสีแดงตัดด้วยสีเหลือง ทำให้เหมือนเป็นห้างสรรพสินค้าขนาดย่อม ตกแต่งได้ความรู้สึกที่น้อยแต่มาก เรียบแต่ดูดี น่าเดินเข้าไปซื้อมากค่ะ
Pic by : kawarthahomehardware
30. Castle Building Centres Group
โทนสีน้ำเงินเหลืองก็เป็นอีกโทนสีฮิตอีกสีหนึ่งที่นำมาใช้ในร้านวัสดุก่อสร้าง ด้วยความที่สีน้ำเงินดูเข้มแข็ง แต่สีเหลืองตัดกันแล้วดูเข้ากัน จึงออกมาดูดีมากค่ะ
Pic by : alfcurtis
31. Bunnings Warehouse store
ออกแบบให้เป็นรูปบ้านที่เป็นสัญลักษณ์บ่งบอกว่าเป็นร้านที่มีสินค้าเกี่ยวกับบ้าน มีรูปค้อนด้านหน้าเพื่อแสดงถึงเครื่องมือช่างด้วยนะ
Pic by : realcommercial
32. Dove Building Materials
ร้านจากประเทศอังกฤษ ทำเป็นโกดังชั้นเดียว เน้นป้ายชื่อร้านให้เด่นพร้อมวางสินค้าไว้ข้างหน้า เก๋ไม่เบาเลยค่ะ
Pic by : commons
33. Pro Hardware
ออกแบบโลโก้มาได้น่ารักด้วยสีส้ม-เหลือง หน้าร้านใช้กระจกใสเห็นสินค้าชัดเจน พร้อมวางสินค้าบางชนิดไว้ด้านหน้าให้ดูเป็นร้านวัสดุก่อสร้างมากขึ้น
Pic by : insideindianabusiness
34. Long Lake True Value
เป็นอีกร้านที่มีรูปบ้านและนำสินค้ามาไว้ด้านหน้าเพื่อให้ร้านดูมีสินค้าเยอะ ทั้งยังเป็นการช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือของร้านอีกด้วยค่ะ
Pic by : midwesthardware
2. แบบร้านวัสดุก่อสร้าง (ภายในร้าน)
ภายในร้านก็เป็นส่วนสำคัญมาก ๆ ในการออกแบบ เพราะถ้ามีการจัดวางที่ดี จะช่วยเพิ่มความรู้สึกน่าเดินเข้าไปซื้อสินค้ามากขึ้นค่ะ คุณสามารถอ่านเพิ่มเติมเรื่องนี้ได้ที่ ☛ ลูกค้าเต็มร้าน..เริ่มได้ตั้งแต่การออกแบบร้านค้า หรือสามารถอ่านได้ใน PN Storetailer เว็บไซต์ของ PN อีก 1 เว็บไซต์ ที่จะเน้นให้ความรู้ร้านค้าปลีกโดยเฉพาะ ซึ่งก็มีบทความเกี่ยวกับ แผนผังร้านค้า และ ออกแบบร้านค้าปลีก ด้วยค่ะ)
2.1 แบบร้านวัสดุก่อสร้าง ภายในร้าน (3D)
แบบร้านวัสดุก่อสร้างภายในร้านที่ทีมงาน PN ออกแบบให้ลูกค้าจะมีเป็นแบบ 3D ที่สามารถเห็นแปลนร้าน, แปลนชั้นวางสินค้า และดีเทลของชั้นวางวัสดุก่อสร้างได้อย่างชัดเจนในทุก ๆ มุม ซึ่งการออกแบบ 3D นี้สามารถทำให้เจ้าของร้านตัดสินใจได้ง่ายมากขึ้นว่าจะวางชั้นวางสินค้าตัวไหนไว้ตรงไหน และหากมีเคาน์เตอร์คิดเงิน, ห้องสำนักงาน, ห้องสต็อกสินค้า ก็จะสามารถลงรายละเอียดได้ด้วยค่ะ
# เรามีฝ่ายออกแบบผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ด้านการออกแบบ รวมถึงตัวบริษัทเอง ที่เป็นโรงงานผลิตชั้นวางสินค้ามาอย่างยาวนานกว่ามากกว่า 50 ปี (อ่านเพิ่มเติม เกี่ยวกับ PN)
หากคุณต้องการออกแบบแปลนร้านในการจัดวางพื้นที่ชั้นวางสินค้าเพื่อเปิดร้านวัสดุก่อสร้าง มั่นใจได้ว่าร่วมงานกับเรา ไม่ผิดหวังแน่นอนค่ะ การันตีจากลูกค้าที่เปิดร้านใหม่กับเรามาอย่างยาวนาน (ดูผลงานการออกแบบชั้นวางสินค้า)
35. ร้านคุณเจนณรงค์
ร้านนี้เลือกวางแผนผังร้านค้าให้เป็นระเบียบ โดยใช้แร็คครอบชั้นกลางร้าน และใช้แร็ควางพาเลทที่หลังร้าน และยังมีชั้นวางที่ออกแบบให้ติดกับผนังห้องอีกด้วยค่ะ
36. ร้านคุณพัน
แม้จะเป็นห้องขนาดเล็ก แต่ถ้าเลือกแร็คครอบชั้นวางจาก PN คุณก็จะสามารถทำได้ทั้งสต็อกสินค้าและวางสินค้าได้ในชั้นวางตัวเดียวค่ะ ดูตัวอย่างจากร้านนี้ หรืออ่านเพิ่มเติมได้ที่ >> แร็คครอบเชลฟ์คืออะไร
37. ร้านฮาร์ดแวร์คิง
Hardware King เป็นร้านที่ใหญ่มาก ๆ ค่ะ การออกแบบชั้นวางแต่ละจุดให้เหมาะสมกับพื้นที่จึงมีความสำคัญมาก ฝ่ายแบบของ PN จึงต้องทำให้ลูกค้าเห็นภาพมากที่สุดตั้งแต่เริ่มเขียนแปลนไปจนถึงออกแบบภาพ 3D เลยค่ะ
38. หจก.พีโอ.วัสดุก่อสร้าง
ร้านนี้เป็นร้านที่มียอดดูมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ใน การวางแปลนชั้นวางสินค้า 3D ของเว็บไซต์เราเลยค่ะ อาจเป็นเพราะเจ้าของร้านวัสดุก่อสร้างส่วนใหญ่ อยากได้แปลนร้าน+ชั้นวางสินค้าประมาณนี้ไหมคะ
อีกอย่างคือร้านนี้เป็นร้านที่ออกแบบให้เห็นรายละเอียดชัดเจนในทุกองค์ประกอบ ไม่ว่าจะเป็น การเขียนแบบแปลนร้าน, แปลนแบบร้าน 3D, เคาน์เตอร์คิดเงิน, เคาน์เตอร์ต้อนรับ และดีเทลสิ่งของที่วางบนชั้นวางสินค้า จึงทำให้ร้านนี้ฮอตฮิตติดอันดับ 2 เลยทีเดียวค่ะ
39. ร้านศรีราชามงคลชัย
ร้านนี้เป็นร้านที่เราใช้เป็นรูปปกบทความ เนื่องจากสีของชั้นวางที่สวยมากนั่นเอง แม้จะไม่ได้มีรูปภาพเยอะมากมายเท่าร้านอื่น แต่เวลาในการดูของคนที่คลิกเข้าไปชมภาพเพิ่มเติมในร้านนี้เยอะมาก อาจจะเป็นเพราะฝ่ายแบบเค้าวาดออกมาได้สวย ก็เลยน่าจะทำให้เถ้าแก่หลาย ๆ คนได้ไอเดียจากร้านไปพอสมควรค่ะ
40. ร้านคุณเล้ง
เป็นร้านห้องแถวขนาด 1 คูหา แต่ใช้พื้นที่ได้คุ้มค่ามาก แม้พื้นที่น้อยแต่ฝ่ายแบบของเราก็สามารถออกแบบชั้นวางให้เหมาะสมกับพื้นที่ของคุณได้ค่ะ
41. ร้านเชียงคำ ซีเมนต์บล็อก
ภาพรวมของร้านทั้งหมดก็จะเป็นอย่างที่เห็นในภาพเลยค่ะ นอกจากมาพื้นที่ตรงกลางสำหรับชั้นวางสินค้าแล้ว ยังมีห้องสำนักงาน และห้องอื่น ๆ อีกมากมาย ไฮไลท์ของร้านนี้คือจะมีลักษณะเป็นมุมเฉียงออกไปด้านซ้าย ซึ่งบริเวณนี้ ขนาดชั้นวางสินค้าจะต้องพอดีกับพื้นที่มากที่สุด
42. ร้านคุณศุภชัย
อันดับ 1 ของร้านที่มีคนใช้เวลาดูมากที่สุดมาแล้วค่ะ! 😀 ด้วยดีเทลที่ละเอียดมาก ตั้งแต่แผนผังร้านค้าโดยรวม, ป้ายบอกประเภทสินค้าที่หัวเชลฟ์ Endcap, พื้นที่ของเคาน์เตอร์ต้อนรับ, ภาพ 3D ที่เห็นการวางอุปกรณ์ก่อสร้างจริง เช่น ซิงค์ล้างจาน ประตู อุปกรณ์ PVC และอื่น ๆ อีกมากมายที่ทำให้คนดูมีไอเดียในการทำร้านเพิ่มขึ้น
ร้านต่อไปนี้จะเป็นร้านใหม่ของลูกค้า PN ที่เรามาเพิ่มเข้าเฉพาะในบทความนี้นะคะ จึงทำให้ไม่มีลิงก์ให้ไปดูผลงานการออกแบบ 3D เพิ่มเติมค่ะ (ไว้อัพเดตเว็บที่หน้าผลงาน 3D เสร็จ จะนำมาแปะไว้ให้นะคะ ^^)
43. ร้านเครื่องมือคับ
ร้านลูกค้าใหม่ของ PN ที่เปิดร้านไปเมื่อปลายปี 2021 เป็นร้านใหม่ที่ชั้นวางสินค้าครบครัน สวยงาม และทีมออกแบบของเรา ออกแบบได้ตอบโจทย์ตรงตามที่ลูกค้าต้องการเลยค่ะ
2.2 แบบร้านวัสดุก่อสร้าง ภายในร้าน (ร้านจริง)
ในส่วนของแบบร้านวัสดุก่อสร้างภายในร้านที่เป็นร้านจริง ก็จะเป็นการนำชั้นวางสินค้ามาจัดวางให้ตรงกับแบบร้าน 3D มากที่สุด ทำให้ร้านวัสดุก่อสร้างออกมาเป็นร้านที่สมบูรณ์แบบ พร้อมให้ลูกค้ามาเดินช้อปค่ะ ลองดูตัวอย่างร้านจริงที่ PN ไปติดตั้งชั้นวางสินค้าไปเป็นไอเดียในการออกแบบร้านวัสดุก่อสร้างของคุณดูนะคะ
50. ร้านโฮมบิส สาขาคลองหลวง
โฮมบิส เป็นร้านที่ไม่ได้มีพื้นที่เยอะมาก แต่ใช้พื้นที่ได้อย่างคุ้มค่ามาก ๆ ค่ะ ลูกค้าเลือกชั้นวางสินค้าจาก PN ทำให้ปรับเปลี่ยนรูปชั้นวางตามสินค้าที่จะนำมาวางได้ การออกแบบร้านตั้งแต่เริ่มให้เหมาะสม จึงส่งผลให้สามารถจัดสรรพื้นที่และตำแหน่งเชลฟ์ ตำแหน่งสินค้าต่าง ๆ ได้อย่างลงตัวสุด
51. ร้านพรชัยโฮมเซ็นเตอร์
ร้านวัสดุก่อสร้างครบวงจร เลือกสั่งผลิตแร็คครอบชั้นวางสินค้าที่สามารถวางโชว์สินค้ารวมทั้งสต็อกสินค้าด้านบนได้ พร้อมติดป้ายแบรนด์ที่หัวเชลฟ์ ตัวร้านเป็นพื้นที่วางแบบเปิดโล่ง ทำให้ง่ายต่อการออกแบบและจัดวางร้าน
52. ร้านโชคชัยสตีล
ร้านนี้มีการออกแบบจัดวางร้านตามแบบห้างสรรพสินค้า นอกจากมีแถวชั้นวางบริเวณตรงกลางห้องแล้ว ยังมีชั้นวางรอบ ๆ รอบ เพิ่มความสนุกในการเดินช้อปปิ้งของลูกค้ามากขึ้น มีป้ายแบ่งโซนสินค้า และมีซุ้มจัดแสดงสินค้าโปรโมชั่นอีกด้วย
53. ร้านลิบไชยโฮมเซ็นเตอร์
เน้นจัดเรียงชั้นวางสินค้าไว้ตรงกลางร้าน และเพิ่มสินค้าจิปาถะไว้ที่บริเวณด้านหน้าของชั้นวาง ส่วนสินค้าชิ้นใหญ่ ๆ อย่างพวกประตู จะนำไปไว้ที่หลังร้านแทน
54. ร้านพูลผลพีโฮม
แบ่งโซนชั้นวางสินค้าเล็กและใหญ่ไว้ตามหมวดหมู่ของสินค้า เน้นการนำสินค้าที่เสี่ยงแตกง่าย ยกขึ้นด้านบนยากอย่างพวกกระเบื้อง กระจก โถสุขภัณฑ์จัดซุ้มไว้ที่บริเวณตรงกลางที่เป็นส่วนของชั้นวางสินค้าที่มีความสูงไม่มาก
55. ร้านฟูลเฮาส์สโตร์
มีความคล้ายกับแบบร้านอื่น ๆ ตรงที่การใช้แร็คครอบชั้นวางสินค้าเรียงรายไว้ตรงกลางและรอบ ๆ แต่ที่พิเศษมีการใช้กระบะโปรโมชั่นที่ซุ้มตรงกลางด้วยค่ะ
56. ร้าน Shop โฮม เหลี่ยงฮะเฮง
ร้านมีขนาดกว้างมาก ทำให้วางสินค้าทั้งสองฝั่งได้ พื้นที่ตรงกลางยังคงจัดเป็นซุ้มโปรโมชั่นคล้ายกับร้านอื่น แต่ความพิเศษของร้านนี้คือแร็คที่ครอบชั้นวางด้านบนมี 2 ชั้น ตามความต้องการของเจ้าของร้านที่ต้องการพื้นที่ในการสต็อกสินค้าเยอะ ๆ ค่ะ
57. ร้านห้าแยกกรุ๊ป
ร้านห้าแยกกรุ๊ป ถ้าทุกคนได้ดูรูปหน้าร้านจาก section ก่อนหน้านี้จะเห็นว่า ร้านมีขนาดใหญ่เทียบเท่ากับห้างสรรพสินค้าได้ค่ะ การแบ่งโซนต่าง ๆ จึงทำออกมาได้ลงตัวมาก ทีม PN ก็ได้มีการออกแบบชั้นวางที่เหมาะสมกับชั้นวางตัวนั้น ๆ มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นชั้นโชว์ซิงค์ ชั้นโชว์กระเบื้อง ชั้นโชว์ประตู ชั้นโชว์โคมไฟ
58. ร้าน HomeBiz สาขาคลองเจ็ด
เป็นอีกร้านที่ไว้ใจให้ PN ออกแบบชั้นวางสั่งผลิตในสาขาที่สอง เลือกคุมโทนร้านสีเขียวทั้งเคาน์เตอร์คิดเงินและชั้นวางสินค้า มีการจัดระเบียบพื้นที่ได้ลงตัวแม้จะมีพื้นที่น้อยค่ะ
59. ร้านเด่นเจริญ
การใช้โทนสีเทา+ขาว เป็นสีที่นิยมมากในร้านวัสดุก่อสร้าง เพราะมีความเรียบง่ายและเข้ากับความเป็นวัสดุก่อสร้าง ร้านเด่นเจริญก็เป็นอีกร้านที่ใช้แร็คครอบชั้นสีเทา+ขาว และมีการจัดวางแบบร้านได้อย่างดีค่ะ
60. ร้านเล็กก่อสร้างอุดร
แบบร้านของร้านเล็กก่อสร้าง ออกแบบให้สินค้าชิ้นใหญ่ ๆ เช่น ชั้นวางประตู ชั้นโชว์กระเบื้อง อยู่รอบนอก และยังมีการจัดซุ้มสำหรับอุปกรณ์เกี่ยวกับไฟฟ้าโดยเฉพาะ
61. ร้านมงคลเพิ่มทรัพย์
เนื่องจากมี 2 ชั้น ทำให้ชั้นล่างมีเพดานที่ต่ำกว่าปกติ ออกแบบความสูงของแร็คที่พอดีกับเพดานจึงเป็นสิ่งสำคัญ แม้จะจำกัดความสูง แต่เมื่อมันมีขนาดที่พอดี ก็ทำให้การจัดวางโซนต่าง ๆ ของชั้นวางสินค้าไม่เป็นปัญหาเลยค่ะ
3. ร้านวัสดุก่อสร้างควรใช้ชั้นวางแบบไหนบ้าง?
ร้านวัสดุก่อสร้าง เป็นร้านที่มีสเกลขนาดใหญ่ มีสินค้าที่หลากหลายรูปแบบ และส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าที่มีน้ำหนักมาก ทำให้ต้องโชว์สินค้าในร้านที่แตกต่างจากร้านค้าปลีกทั่วไป เช่น ถังสี, ประตู, ฝักบัว, เครื่องมือช่าง, กระเบื้อง ฉะนั้นชั้นวางสินค้าก็จะต้องสั่งผลิตโดยเฉพาะสำหรับวางสินค้าประเภทนี้
มาดูตัวอย่างชั้นวางสินค้า 8 แบบที่ต้องใช้ในร้านวัสดุก่อสร้างกันค่ะ
1. ชั้นวางสินค้าคิ้วกระเบื้อง
คิ้วกระเบื้อง เป็นสินค้าที่ร้านวัสดุก่อสร้างส่วนใหญ่จะนำมาขาย เพราะมันจำเป็นสำหรับนำมาใช้ในการปูกระเบื้อง แต่เนื่องจากมันมีขนาดยาวกว่าปกติ จึงทำให้ต้องมีชั้นวางสินค้าแบบพิเศษที่จะใช้วางคิ้วกระเบื้องได้ ซึ่ง PN ก็ตอบโจทย์คุณตรงนี้ได้ค่ะ
2. ชั้นโชว์แผ่นกระเบื้อง
กระเบื้อง เป็นอีกหนึ่งสินค้าที่จำเป็นต้องมีในร้านวัสดุก่อสร้าง ฉะนั้นหากมีชั้นวางที่ออกแบบมาสำหรับโชว์กระเบื้องโดยเฉพาะ จะทำให้สินค้าประเภทนี้โดดเด่น โชว์ลวดลายต่างของตัวสินค้าได้อย่างสวยงามและน่าซื้อมากยิ่งขึ้นค่ะ
3. ชั้นโชว์บานประตู หน้าต่าง
แน่นอนว่าร้านวัสดุก่อสร้างแทบทุกร้านจะต้องมีประตูกับหน้าต่างไว้บริการลูกค้าแบบครบวงจร การมีชั้นวางสินค้าที่โชว์บานประตู+หน้าต่างได้จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นมากค่ะ เพราะประตูมีขนาดใหญ่ ต้องโชว์ทั้งลายและตัวผิววัสดุ จึงต้องมีชั้นวางที่เหมาะกับสินค้าตัวนี้โดยเฉพาะ ที่สำคัญการมีรางเลื่อนจะช่วยเพิ่มพื้นที่ในการวางประตูได้มากขึ้นไปอีกด้วยนะ
4. ชั้นวางข้อต่อ PVC
ชั้นวางข้อต่อ PVC เป็นชั้นวางที่ยอดนิยมที่สุดของ PN เลยก็ว่าได้ค่ะ เพราะร้านวัสดุก่อสร้างทุกร้านมักจะขายข้อต่อพีวีซี ไม่ว่าจะเป็นแบบสั้นหรือท่อพีวีซีขนาดยาว ซึ่ง PN ก็สามารถออกแบบชั้นวางสำหรับวางท่อพีวีซีได้หลากหลายรูปแบบตามความต้องการของคุณได้เลย
5. ชั้นวางเครื่องครัว
ทุกพื้นที่ของการสร้างบ้าน มีหลายองค์ประกอบด้วยกัน หนึ่งในนั้นมีห้องครัว หากเจ้าของร้านวัสดุก่อสร้างอยากได้ชั้นวางที่จำลองห้องครัวมาไว้ที่ร้านวัสดุก่อสร้างของคุณ PN ก็สามารถเนรนิตให้ได้ค่ะ
6. ชั้นวางสายไฟ (ชั้นแกนโรล)
ร้านวัสดุก่อสร้างบางร้าน นอกจากขายสินค้าประเภทก่อสร้าง ก็จะขายอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์แบบครบวงจรด้วยค่ะ การมีชั้นวางสายไฟหรือที่ PN เรียกว่าชั้นแกนโรล ก็เป็นหนึ่งในตัวเลือกยอดฮิตที่เถ้าแก่ร้านเกี่ยวกับวัสดุก่อสร้างสั่งทำไปเปิดร้านนะคะ
7. ชั้นวางโชว์โคมไฟ
โคมไฟ เป็นหนึ่งในสินค้าที่ควรมีชั้นไว้โชว์อย่างเหมาะสม เพราะดีเทลลวดลายต่าง ๆ และการส่องสว่างของมัน หากแพ็คใส่กล่องแล้ววางไว้ที่ชั้นอย่างเดียว ลูกค้าที่มาซื้อก็จะไม่เห็นภาพจริง ทั้งยังต้องแกะกล่องให้ยุ่งยาก ชั้นวางโคมไฟจึงเป็นหนึ่งในชั้นวางที่ต้องมีในร้านวัสดุก่อสร้างค่ะ
8. ชั้นวางโถสุขภัณฑ์
โถสุขภัณฑ์มีน้ำหนักมาก ทำให้ต้องใช้ชั้นวางที่เหมาะสมทั้งการรับน้ำหนักและความสวยงามในการวางเพื่อโชว์สินคาประเภทนี้ค่ะ
✔ สรุป
เป็นอย่างไรกันบ้างคะ มีเถ้าแก่คนไหนได้ไอเดียเพิ่มเติมในการนำไปออกแบบร้านวัสดุก่อสร้างของคุณกันบ้าง ทั้งหมดนี้ก็เป็นแบบร้านวัสดุก่อสร้างที่เราได้ปรับปรุงล่าสุดใน ปี 2022 มาให้ทุกท่านได้ชมกันค่ะ สรุปสิ่งที่ผู้เขียนนำมาให้ทุกคนได้ดู
1. แบบร้านวัสดุก่อสร้าง (หน้าร้าน)
- 1.1 แบบหน้าร้านวัสดุก่อสร้างจากลูกค้า PN
- 1.2 แบบหน้าร้านวัสดุก่อสร้างจากต่างประเทศ และอื่นๆ
2. แบบร้านวัสดุก่อสร้าง (ภายในร้าน)
- 2.1 แบบในร้าน 3D จาก PN
- 2.2 แบบในร้านจริง จาก PN
3. ชั้นวางที่ควรมีในร้านวัสดุก่อสร้าง
- 3.1 ชั้นวางสินค้าคิ้วกระเบื้อง
- 3.2 ชั้นโชว์แผ่นกระเบื้อง
- 3.3 ชั้นโชว์บานประตู หน้าต่าง
- 3.4 ชั้นวางข้อต่อ PVC
- 3.5 ชั้นวางเครื่องครัว
- 3.6 ชั้นวางสายไฟ
- 3.7 ชั้นวางโคมไฟ
- 3.8 ชั้นวางโถสุขภัณฑ์
หากยังดูรูปภาพไม่จุใจ สามารถคลิกเข้าไปดู
>> แคตตาล็อกชั้นวางสินค้าทั้งหมด
และถ้าหากคุณดูมาทั้งหมดแล้วยังไม่แน่ใจว่าจะออกแบบมาเป็นแบบไหน หรือมีภาพในหัวว่าจะทำร้านให้เป็นแบบที่ต้องการแล้ว แต่ยังมีบางส่วนที่ต้องการความช่วยเหลือจากผู้ที่ชำนาญด้านการออกแบบ ลองทักมาปรึกษาทีมงานของ ชั้นวางสินค้า PN ได้นะคะ เราฝ่ายแบบ, ฝ่ายขาย, ฝ่ายผลิต, และฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์พร้อมให้บริการลูกค้าทุกท่านค่ะ
บทความแนะนำ
เทคนิคการขายวัสดุก่อสร้างยังไง.. ให้ลูกค้ากลับมาซื้อซ้ำ
เทคนิคการขายวัสดุก่อสร้างที่ดีมีความสำคัญมาก เพราะสินค้าที่เกี่ยวกับวัสดุก่อสร้าง ต้องใช้ข้อพิจารณาหลายอย่าง เรามีเทคนิคการขาย 3 ขั้นตอนที่จะช่วยคุณ[...]
ม.ค.
9 ขั้นตอน เปิดร้านวัสดุก่อสร้าง พร้อมทริคทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ [2023]
เปิดร้านวัสดุก่อสร้างค่าใช้จ่ายประมาณเท่าไหร่? เริ่มต้นต้องมีอุปกรณ์และสต็อกสินค้าอะไรบ้าง? บริหารจัดการยังไง? เราจะมาตอบคำถามเหล่านี้กันค่ะ[...]
ม.ค.
ชั้นวางสินค้าแกนโรล ทำไมของมันต้องมี?
ทำความรู้จักกับ ชั้นวางสินค้าแกนโรล ชั้นวางสินค้าที่คุณต้องมี! พร้อมกับวิธีการเรียงสินค้าบนชั้นแกนโรลอย่างไรให้ช่วยเพิ่มยอดขาย[...]
มิ.ย.