สำหรับหลายคนอยู่ในละแวกทำเลทอง ซึ่งทำให้มองเห็นลู่ทางในการ เปิดร้านวัสดุก่อสร้าง แต่ยังเห็นภาพไม่ชัดว่าจะเริ่มต้นยังไงดี? รวมถึงมีคำถามบางอย่างที่ต้องการไอเดียหรือการสรุปเพื่อให้เห็นภาพมากขึ้นบทความนี้ PN จะรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ มาให้คุณได้อ่านเพื่อนำไปข้อพิจารณากันค่ะ
2. วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย
ขั้นตอนต่อมาในการเริ่มต้นธุรกิจร้านวัสดุก่อสร้าง สิ่งสำคัญคือต้องเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย ความต้องการและความชื่นชอบของพวกเขา ก่อนลงมือทำให้คุณทำการวิจัยตลาดเพื่อให้ทราบว่าในผู้คนในพื้นที่ทำเลที่คุณเลือกมามีความต้องการวัสดุก่อสร้างมากแค่ไหน รวมถึงวิเคราะห์การแข่งขัน และกลยุทธ์ด้านราคาของคู่แข่งด้วย
3. สร้างแผนธุรกิจอย่างครอบคลุม
แผนธุรกิจคือแผนงานที่กำหนดเป้าหมายธุรกิจ กลยุทธ์การดำเนินงาน การสร้างแบรนด์ และประมาณการทางการเงิน ควรเขียนอธิบายเกี่ยวกับธุรกิจก่อสร้างที่คุณกำลังจะเปิดโดยละเอียด ทั้งตลาดเป้าหมาย กลยุทธ์ทางการตลาด กลยุทธ์การกำหนดราคา ประมาณการทางการเงิน รวมถึงเตรียมจดทะเบียนการค้าเพื่อได้รับใบอนุญาตต่าง ๆ ที่จำเป็นให้ดำเนินกิจการร้านขายวัสดุก่อสร้างในพื้นที่ให้ถูกต้องตามกฎหมาย
4. คำนวณต้นทุนให้เหมาะสม
เมื่อประมาณการทางการเงินแล้ว ให้ลองคำนวณต้นทุนคร่าว ๆ ก่อนว่าจะมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง เราได้ลองคำนวณมาให้คร่าว ๆ ดูแล้ว จะเป็นประมาณนี้ค่ะ
4.1) ต้นทุนค่าชั้นวางสินค้าและค่าเช่าสถานที่
ค่าใช้จ่ายจะเป็นเรื่องค่าสถานที่, ค่าเช่าตึกร้านค้า, ค่าชั้นวางสินค้า ค่าจ้างพนักงาน (ยังไม่รวมกับค่าสต็อกสินค้า) ทั้งหมดนี้ก็ขึ้นอยู่กับขนาดของร้านของคุณ
1) ร้านเล็ก-กลาง
- ค่าเช่าตึก 1-2 คูหา ราคา 15,000-50,000++ บาทต่อเดือน (ขึ้นอยู่กับทำเลร้านค้าและการคิดราคาของผู้ให้เช่า แต่กรณีนี้เราอ้างอิงราคาส่วนใหญ่จาก thaihometown )
- ค่าชั้นวางสินค้า ขนาดร้านตึกแถว 1 คูหา ราคาเริ่มต้น 200,000-600,000++ บาท (อ้างอิงจากราคาของ ชั้นวางสินค้า PN )
- ค่าจ้างพนักงาน 1 คน เฉลี่ย 10,000-15,000 ต่อเดือน (อ้างอิงจาก Careerjet.in.th)
2) ร้านขนาดใหญ่-ใหญ่มาก
- ค่าเช่าโกดัง ราคา 60,000-300,000++ ต่อเดือน (ขึ้นอยู่กับทำเลร้านค้าและการคิดราคาของผู้ให้เช่า แต่กรณีนี้เราอ้างอิงราคาส่วนใหญ่จาก thaihometown )
- ค่าชั้นวางสินค้า ขนาดโกดังราคาเริ่มต้น 700,000-1,000,000++ บาท
- ค่าจ้างพนักงาน 3-6 คน เฉลี่ยแบบรวม 30,000-60,000 บาท
ตัวอย่างร้านวัสดุก่อสร้างของลูกค้า PN / ดูรูปเพิ่มเติมได้ที่ > ผลงานติดตั้งชั้นวางสินค้าร้านวัสดุก่อสร้าง
4.2) ต้นทุนการสต็อกสินค้า
ถ้าถามว่าใช้ต้นทุนลงสินค้าประมาณเท่าไหร่? : ต้นทุนขึ้นอยู่กับขนาดร้านค้าของคุณค่ะ ถ้าลงของเยอะ เปิดร้านขนาดใหญ่ ต้นทุนก็จะสูงตามไปด้วย ซึ่งแบ่งได้ตามนี้นะคะ
- ร้านขนาดเล็กมาก เริ่มต้น 150,000 บาท นี่เป็นราคาที่ต่ำที่สุดในการเปิดร้านวัสดุก่อสร้างแล้วค่ะ แต่ของในร้านคุณก็จะน้อยตามลงไปด้วย และคุณภาพอาจจะไม่ได้อย่างที่ลูกค้าต้องการ
- ร้านขนาดเล็ก เริ่มต้น 300,000 – 900,000 บาท ราคานี้เป็นราคากำลังดี ที่คนส่วนใหญ่แนะนำ เพราะของจะครบครันและมีคุณภาพมากขึ้น
- ร้านขนาดกลาง เริ่มต้น 1,000,000 – 5,000,000++ บาท ราคานี้สำหรับร้านที่อยากเปิดร้านวัสดุก่อสร้างแบบครบวงจร
- ร้านขนาดใหญ่ เริ่มต้น 10,000,000++ บาท สำหรับราคานี้จะเป็นร้านกลุ่มที่มีสินค้าครอบคลุมทุกอย่างในวงการก่อสร้าง ตั้งแต่เล็กไปถึงใหญ่ และมีบริการอย่างทั่วถึง
(หากต้องการเติมสต็อกสินค้า ร้านขนาดเล็ก เริ่มต้นที่ 5,000 – 10,000++ บาท ถ้าร้านใหญ่ขึ้นก็จะมีราคาที่สูงขึ้นตามไปค่ะ)
ที่มีต้นทุนสูงเพราะสินค้าจำพวกวัสดุก่อสร้าง เป็นสินค้าที่จำเป็นต้องมีคุณภาพสูง เพราะถ้าใช้ของคุณภาพต่ำในการไปก่อสร้างบ้านและอาคาร มีความเสี่ยงสูงที่สิ่งก่อสร้างเหล่านั้นจะพังก่อนเวลาอันควร การที่คุณภาพสินค้าดี จะทำให้ราคาสูงตามไปด้วย อีกอย่างคือ การเปิดร้านแบบนี้จำเป็นต้องลงของเยอะ ๆ เพื่อให้ร้านมีความหลากหลาย ลูกค้าจะมีทางเลือกเยอะ น่าเข้าไปเลือกซื้อนั่นเองค่ะ
5. ออกแบบร้านให้น่าเข้า
ก่อนจะสร้างร้านค้าคุณจำเป็นต้องออกแบบวางแผนผังร้านค้าก่อน ซึ่งแบบร้านวัสดุก่อสร้างส่วนใหญ่จะเน้นจัดร้านให้เป็นระเบียบ มีโซนชั้นวางสินค้าที่ชัดเจน เพื่อให้ลูกค้าสามารถหาของได้ง่าย และสินค้าทุกชิ้นจะต้องถูกจัดวางบนเชลฟ์อย่างเหมาะสมเพื่อให้มีความโดดเด่นสะดุดตา
หากยังไม่แน่ใจว่าควรออกแบบวางแปลนอย่างไร คุณสามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญจาก PN ได้นะ สามารถคลิกดูตัวอย่างการออกแบบร้านได้ที่ 👉 ผลงานการออกแบบร้านวัสดุก่อสร้างและอุปกรณ์ตกแต่งบ้าน
ในขั้นตอนการออกแบบแปลนร้านและการก่อสร้างร้าน อาจต้องใช้ระยะเวลาหน่อย เพราะคุณต้องดีลกับคนก่อสร้าง คนออกแบบ เพื่อให้สร้างร้านวัสดุก่อสร้างของคุณออกมาได้อย่างสมบูรณ์แบบตรงตามความต้องการที่สุด
(อ่านบทความเพิ่มเติม : 9 วิธีการจัดเรียงสินค้าในร้านค้าปลีก ให้ดึงดูดลูกค้า น่าซื้อ และเพิ่มยอดขายได้)
6. จัดสรรอุปกรณ์ที่ควรมี
อุปกรณ์หลัก ๆ ที่ควรจะต้องมีในการเริ่มต้นเปิดร้านวัสดุก่อสร้าง ก็จะมีดังนี้
2.1) ชั้นวางสินค้า
ชั้นวางสินค้าเป็นสิ่งสำคัญอันดับต้น ๆ ของการเปิดร้านวัสดุก่อสร้าง เพราะวัสดุเหล่านี้ มีลักษณะที่จำเพาะเจาะจง ยากที่จะใช้ชั้นวางแบบทั่ว ๆ ไป อย่างบางร้านมีสายไฟและสายยาง, ลวดเหล็ก, สว่าน, ประตู, กระเบื้อง ของเหล่านี้จะต้องใช้ชั้นวางแบบสั่งทำพิเศษ เพื่อให้โชว์สินค้าได้อย่างเหมาะสมและสวยงาม
ตัวอย่างชั้นวางสินค้าในร้านวัสดุก่อสร้างที่ออกแบบผลิต by PN
📌 อ่านบทความเกี่ยวกับชั้นวางสินค้าที่แนะนำสำหรับร้านวัสดุก่อสร้าง คลิก 👉 20 ชั้นวางวัสดุก่อสร้าง ยอดนิยม ที่ผู้ประกอบการเลือกสั่งผลิต
6.2) เคาน์เตอร์แคชเชียร์
เคาน์เตอร์เป็นสิ่งที่สำคัญมาในร้านวัสดุก่อสร้าง เพราะทุกร้านจะต้องมีจุดชำระเงินที่หน้าร้านเสมอ สิ่งสำคัญของเคาน์เตอร์แคชเชียร์ จะต้องมีความแข็งแรง รับน้ำหนักได้เยอะ และคงทน เนื่องจากสินค้าวัสดุก่อสร้างส่วนใหญ่จะมีน้ำหนักมาก นอกจาก PN จะออกแบบผลิต ชั้นวางวัสดุก่อสร้างแล้ว เรายังมี เคาน์เตอร์แคชเชียร์ ที่เป็นโรงงานในเครือไว้บริการลูกค้าที่ต้องการเปิดร้านกับเราแบบครบครันอีกด้วย
6.3) ตะกร้า / รถเข็น Shopping
เมื่อเข้าไปในร้านวัสดุก่อสร้างแน่นอนว่าจะต้องมีตะกร้าเพื่อให้ลูกค้าได้หยิบสินค้าใส่ (สำหรับสินค้าชิ้นเล็ก ๆ หรือลูกค้าที่ต้องการซื้อเพียงไม่กี่ชิ้น) ส่วนรถเข็น ก็จะเหมาะกับสินค้าขนาดใหญ่ และลูกค้าที่ต้องการช้อปสินค้าหลาย ๆ อย่าง
6.4) ระบบ POS
เป็นระบบที่จะช่วยคุณในเรื่องการจัดการบัญชีการเงินเข้า-ออก, จำนวนสต็อกสินค้า และอื่นๆอีกมากมาย ถ้าคุณมีระบบนี้ติดตั้งไว้ในร้าน คุณจะจัดการทุกอย่างในร้านได้สะดวกมากกว่าเดิม ( แต่หากคุณยังไม่ทราบว่าระบบ POS คืออะไร อ่านบทความนี้เลยค่ะ >> จัดการทุกอย่างในร้านค้าให้ง่ายราวกับดีดนิ้ว!! ด้วย “ระบบ POS” )
6.5) รถขนของ
สินค้าเหล่านี้ มันเป็นสิ่งของที่มีน้ำหนักมาก ต้องใช้การขนส่งอยู่บ่อยครั้ง หรือคุณอาจมีบริการขนส่งสินค้าถึงบ้านเพื่อตอบโจทย์ลูกค้า คุณจึงต้องมีรถกระบะหรือรถบรรทุกเพื่อขนสินค้าอยู่ประจำ
6.6) อื่น ๆ
เช่น ถุงใส่สินค้า, อุปกรณ์ทำความสะอาด, บันไดสูงสำหรับขึ้นไปทำความสะอาดสินค้า หรือจัดสต็อก หากร้านใหญ่ที่ต้องขนของหนักอาจจะใช้แฮนด์ลิฟท์หรือสแตกเกอร์สำหรับยกของหนักด้วยก็ได้ค่ะ (เครือบริษัทเรามี Hand lift ไว้ให้บริการด้วยน้า เข้าไปดูได้ที่ 👉 HAND LIFT by TS ได้เลยค่ะ)
7. จัดหาสินค้ามาสต็อก
สำหรับแหล่งซื้อ ทุกคนสามารถเข้าใน google และเสิร์ช “ร้านขายส่งวัสดุก่อสร้าง ใกล้ฉัน” ก็ได้ หรือไม่ก็ตามเว็บไซต์ขายส่ง แนะนำว่าให้ดูดี ๆ นะคะว่าเชื่อถือได้หรือเปล่า แต่ถ้าจะเอาให้ชัวร์ ควรสอบถามจากผู้มีประสบการณ์ดีกว่าค่ะ
ส่วนสินค้าที่จำเป็นสำหรับการสร้างบ้านมีหลากหลายมาก ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับกลุ่มเป้าหมายบริเวณทำเลร้านที่คุณเปิด ว่ามีความต้องการผลิตภัณฑ์แบบไหนบ้าง
★ ตัวอย่างสินค้าที่ควรสต็อก
- กลุ่มไฟฟ้าและเครื่องมือช่าง เช่น สว่าน, สายไฟ, น็อต, สกรู
- กลุ่มสีและเคมีภัณฑ์ เช่น สีทาบ้าน, สเปรย์พ่น
- กลุ่มฮาร์ดแวร์และงานตกแต่ง เช่น ตู้เชื่อมเหล็ก, ประตู, กระเบื้อง, โคมไฟ
- กลุ่มงานประปา เช่น ข้อต่อท่อ PVC, ก๊อกน้ำ, ท่อพีวีซีแบบยาว
- กลุ่มงานโครงสร้าง เช่น เหล็ก, อิฐ, ปูน, หลังคา
- กลุ่มงานเกษตร เช่น เครื่องตัดหญ้า, จอบ, ปั๊มน้ำ
ส่วนคุณจะนำสินค้ากลุ่มไหนมาขาย และเจาะไปที่กลุ่มใดเป็นพิเศษ ก็ลองพิจารณาดูนะคะ เราแนะนำให้ตอบโจทย์ลูกค้าในทำเลนั้น ๆ เป็นหลักดีกว่าจะแบ่งแยกว่าเปิดร้านวัสดุก่อสร้าง ก็เอาเฉพาะสินค้าก่อสร้างมาขาย หากลองพิจารณาตามความเป็นจริง ถ้าลูกค้าของคุณต้องการเครื่องมือช่างหรือฮาร์ดแวร์บางอย่างเพื่อนำไปใช้ในงานก่อสร้าง แต่ร้านของคุณไม่มีสินค้าให้ ร้านของคุณก็อาจจะเป็นร้านที่ไม่ตรงกับความต้องการของลูกค้าได้
Tip : อาจเริ่มจากเก็บข้อมูลเพื่อทำการสอบถามกลุ่มเป้าหมายจริง ๆ ก่อน ถามว่าพวกเขาขาดอุปกรณ์ตัวไหน หรือต้องการสินค้าตัวไหนมากเป็นพิเศษ ค่อย ๆ หาข้อมูลและเก็บประสบการณ์ไปก่อนก็ได้นะ
8. จ้างพนักงานมากประสบการณ์
จ้างพนักงานในตำแหน่งต่าง ๆ ที่จะมาช่วยคุณดำเนินธุรกิจในแต่ละวัน ที่สำคัญคือพนักงานควรจะมีประสบการณ์ด้านวัสดุก่อสร้างและประสบการณ์ด้านการขายในระดับที่สามารถให้คำแนะนำลูกค้าได้ด้วย
ตัวอย่างพนักงานที่ควรจ้าง
- พนักงานขาย
- พนักงานแคชเชียร์
- พนักงานสต็อก+ยกของ
- พนักงานขับรถ
- พนักงานทำความสะอาด
- ผู้จัดการร้าน
แต่ถ้าเป็นร้านขนาดเล็ก คุณอาจจะเลือกจ้างพนักงานในตำแหน่งที่ควรต้องการจริง ๆ ก็ได้ค่ะ
9. โปรโมทร้านค้าให้คนรู้จัก
หลังจากที่สร้างร้านและนำทุกอย่างมาลงทั้งหมดแล้ว ขั้นตอนสุดท้ายก็คือการโปรโมทร้านค้าของคุณให้ทุกคนในบริเวณนั้นได้รู้จัก ซึ่งคุณสามารถทำได้หลายอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็น
- การปักหมุด Google my business
- การสร้างเพจ Facebook แล้วยิง Ads (โฆษณา) เพื่อโปรโมทให้คนที่อยู่บริเวณนั้นเห็นเพจของคุณ แต่ข้อนี้คุณต้องมีค่าใช้จ่าย
- นอกจากการทำยิ่ง Ads ที่คุณต้องเสียค่าใช้จ่าย คุณสามารถทำคอนเทนต์ลงและให้คนรู้จักของคุณช่วยแชร์ก็ได้
- ทำนามบัตรหรือโปสเตอร์แจก
- ทำป้ายข้างทางเพื่อโปรโมท
- ทำป้ายขึ้นรถแล้วให้รถวิ่งไปรอบ ๆ คล้ายกับรถหาเสียง (เราเคยเห็นไทวัสดุที่มาเปิดสาขาใหม่ใกล้กับบริษัทเราทำแบบนี้เหมือนกันนะ)
ทั้งหมดนี้ก็เป็นขั้นตอนการเปิดร้านวัสดุก่อสร้างที่เราได้รวบรวมมาให้ทุกคนได้อ่านโดยละเอียดค่ะ หวังว่าผู้ประกอบการรายใหม่ทุกคนจะสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปประกอบการตัดสินใจเปิดร้านได้น้า
แต่อย่าพึ่งกดออกไปไหนนะค้า ด้านล่างเรามีแถม! 9 ทริคที่จะทำให้ธุรกิจก่อสร้างประสบความสำเร็จ จะมีอะไรบ้าง มาดูกัน
- บริการที่เป็นเลิศ – พัฒนาความสัมพันธ์ที่น่าประทับใจให้กับลูกค้าของคุณด้วยการให้บริการลูกค้าที่เป็นเลิศ เข้าใจความต้องการของพวกเขาอย่างแท้จริง และเสนอวิธีแก้ปัญหาเฉพาะบุคคล
- สินค้ามีคุณภาพ – วัสดุก่อสร้างที่คุณนำมาขายจะต้องมีคุณภาพสูงและตรงตามมาตรฐานอุตสาหกรรม สิ่งนี้จะช่วยสร้างชื่อเสียงให้กับธุรกิจของคุณในฐานะแหล่งวัตถุดิบคุณภาพที่เชื่อถือได้ และสินค้าควรที่จะมีหลากหลายครบครัน ตรงกับกลุ่มเป้าหมายบริเวณนั้นด้วยนะ
- ติดตามข่าวสาร – อัปเดตข่าวสารของวงการอุตสาหกรรมการก่อสร้างอยู่เสมอว่าช่วงนั้นมีเทรนด์อะไร มีแนวโน้มจะไปในทิศทางไหน รวมถึงวัสดุก่อสร้างใหม่ เทคนิคการก่อสร้าง และกฎระเบียบต่าง ๆ สิ่งนี้จะช่วยให้คุณนำเสนอ Solution นวัตกรรมอันเป็นประโยชน์ รวมถึงผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ให้แก่ลูกค้า เมื่อคุณอัปเดตข่าวสารประจำ คุณจะเป็นผู้นำและได้เปรียบคู่แข่งอยู่เสมอ
- ตั้งราคาอย่างชาญฉลาด – สำรวจการตั้งราคาของคู่แข่งหรือร้านค้าบริเวณนั้นว่าเขาตั้งที่ประมาณเท่าไหร่ จากนั้นนำมาวิเคราะห์และปรับราคาสินค้าของคุณให้เหมาะสม นอกจากนี้คุณยังสามารถจัดโปรโมชั่นส่วนลด มีของแถม ของสมนาคุณ และทำการตลาดเพื่อจูงใจให้ลูกค้ามี Brand Loyalty กลับมาซื้อซ้ำเรื่อย ๆ ด้วยค่ะ
- จัดการสินค้าคงคลัง – การดำเนินธุรกิจร้านวัสดุก่อสร้างให้ประสบความสำเร็จต้องจัดการสินค้าคงคลังอย่างมีประสิทธิภาพ คอยตรวจสอบสินค้าคงคลังมีจำนวนเพียงพอหรือไม่ ตรวจสอบแนวโน้มสินค้าว่าตัวไหนขายดีที่สุดแล้วสั่งเข้ามาสต็อกเพิ่ม และจัดลำดับการสั่งซื้อวัสดุก่อสร้างตัวใหม่เข้ามาตามความจำเป็นเพื่อหลีกเลี่ยงทั้งสินค้าขาดสต็อกและสินค้าค้างสต็อก
- บริหารจัดการอย่างรัดกุม – ร้านวัสดุก่อสร้างบริหารร้านค้าด้วยระบบซื้อมา-ขายไป จึงควรทำบัญชีให้รัดกุมมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ตรงนี้อาจใช้เทคโนโลยีเพื่อจัดการสินค้าคงคลัง การขาย และกระบวนการทางบัญชีเข้ามาช่วย จะทำให้จัดการบัญชีได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น
- สร้างคอนเนคชั่น – การสร้างคอนเนคชั่นและพันธมิตรที่ดีทางธุรกิจเอาไว้จะช่วยให้ธุรกิจก่อสร้างมีความราบรื่นมากขึ้น เช่น ให้ร่วมมือกับผู้รับเหมา สร้างมิตรไมตรีต่อคนก่อสร้าง และเจ้าของธุรกิจในอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง แม้แต่คู่แข่งเราก็ควรต้องสร้างความสัมพันธ์ที่ดีเอาไว้ เพื่อพึ่งพาอาศัยกันได้ในอนาคต รวมถึงควรมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อพนักงาน ลูกค้า และทุกคนที่ร่วมงานกับคุณ เมื่อมีคอนเนคชั่นแล้ว คุณจะสามารถขยายฐานลูกค้าของคุณและสร้างขยายธุรกิจเพิ่มขึ้นได้
- ปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง – ในระหว่างที่ทำธุรกิจให้คุณประเมินกระบวนการทางธุรกิจของคุณอย่างต่อเนื่อง ว่าในขณะที่ดำเนินธุรกิจไปมีปัญหาอะไรบ้าง รวบรวมคำติชมจากลูกค้า และจดสิ่งที่ต้องปรับปรุงเป็นลิสต์เอาไว้ สิ่งนี้จะช่วยให้คุณพัฒนาให้ร้านให้ดีขึ้นอยู่เสมอ และจะทำให้ร้านของคุณประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน เพราะคุณไม่หยุดที่จะพัฒนานั่นเอง
- เพิ่มช่องทางทำการตลาด – การทำการตลาดเป็นสิ่งสำคัญมากในการดำเนินธุรกิจในยุคปัจจุบัน เพราะเมื่อมีหน้าร้านแล้ว ต้องทำควบคู่ไปสร้างแบรนด์ให้ผู้คนได้มารู้จักธุรกิจของคุณ ปัจจุบันการทำการตลาดจะเน้นทำออนไลน์เป็นส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น
- การสร้างเว็บไซต์ จากนั้นนำสินค้าที่คุณขายลงเว็บเพื่อให้ลูกค้าได้มาเยี่ยมชมแคตตาล็อกทางออนไลน์ได้
- การทำช่องทางโซเชียลมีเดียอย่าง Facebook เพื่ออัปเดตข่าวสารหรือไลฟ์สด
- การสร้าง Line OA ขึ้นมาเพื่อตอบลูกค้าและเสนอโปรโมชั่นต่าง ๆ
- การปักหมุด Google my business เพื่อให้ลูกค้าหาคุณเจอใน Google Map (อย่าลืมที่จะลงรูปคอนเทนต์ในนั้น เพื่อให้ลูกค้าเห็นบรรยากาศร้านและสินค้าภายในร้านด้วย)
อ่านเรื่องการตลาดออนไลน์ที่เราเขียนไว้ที่ PN Store ได้ที่ : รู้จัก “การตลาดออนไลน์” ฮีโร่เพิ่มยอดขายสำหรับธุรกิจ อัปเดตเทรนด์ 2023
✔ สรุป
เชื่อว่าหลาย ๆ คนที่กำลังคิดอยากเปิดร้านวัสดุก่อสร้าง คงจะได้ข้อมูลคร่าว ๆ เพื่อไปประกอบการตัดสินใจได้บ้าง
แต่การลงทุนมีความเสี่ยง
เพราะร้านแบบนี้ต้องใช้ต้นทุนจำนวนมาก ถ้าไม่ศึกษาให้ละเอียดแล้วรีบเปิด อาจส่งผลให้ประสบความสำเร็จได้ยาก ฉะนั้นคุณควรศึกษาข้อมูลจากหลาย ๆ แหล่งความรู้ หรือสอบถามผู้เชี่ยวชาญที่เคยเปิดร้านแบบนี้มาก่อน เพื่อให้ได้สิ่งที่เป็นประโยชน์กับตัวคุณมากที่สุด
และร้านวัสดุก่อสร้าง บริหารร้านค้าด้วยระบบซื้อมา-ขายไป จึงควรทำบัญชีให้รัดกุมมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และที่ขาดไม่ได้เลยคือการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีทั้งต่อลูกค้าเองและทุกคนที่ร่วมงานกับคุณ เพื่อรักษาฐานลูกค้าให้มาซื้อของกับเราเป็นประจำ รวมถึงสร้างพันธมิตรที่ดีทางธุรกิจเอาไว้ซึ่งการบริหารจัดการที่ดี จะต้องมีปัจจัยหลายอย่างด้วยกันค่ะ
ถ้าถามว่าอนาคตร้านวัสดุก่อสร้างจะรอดไหม? การที่กิจการจะประสบความสำเร็จหรือสร้างกำไรได้นั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างอีกเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น การเลือกทำเล, การนำเสนอสินค้าและบริการ, เทคนิคการขาย, การจัดร้าน, การสร้างแบรนด์เพิ่มความเชื่อมั่นให้ลูกค้า (หากอยากรู้เทคนิคการขายวัสดุก่อสร้างเพิ่มเติม อ่านต่อได้ที่ : เทคนิคการขายวัสดุก่อสร้าง )
คุณจะเห็นว่า แบรนด์ร้านวัสดุก่อสร้างใหญ่ ๆ อย่าง ไทวัสดุ, บุญถาวร, โฮมโปร ที่พวกเขาครองใจลูกค้าและเป็นที่นิยมได้นั่นก็เพราะเขาสร้างแบรนด์และทำการตลาดมาอย่างดี ประกอบกับเทคนิคต่าง ๆ ที่เราได้กล่าวมานั่นเอง (หรือสามารถอ่านบทความเกี่ยวกับ อนาคตร้านวัสดุก่อสร้าง ☚ แบบเต็ม ๆ ได้ลิ้งค์นี้)
อ่านบทความเพิ่มเติม :
References :
- ช่างแขก จัดให้ “เปิดร้านขายอุปกรณ์ก่อสร้างลงทุนเท่าไรดี” 9/10/2019 youtube.com
- Pantip “อยากเปิดร้านขายวัสดุก่อสร้างต้องทำยังไง ใช้ทุนประมาณเท่าไหร่คะ?” topic/34752064
- Thaiwinner “เปิดร้านวัสดุก่อสร้างเริ่มยังไง? ใช้ทุนเท่าไร? อนาคตดีไหม?” thaiwinner.com
- torpvc “13 เรื่องห้ามพลาดก่อนขายวัสดุก่อสร้าง – แชร์ประสบการณ์ 20 ปี” torpvc.com
- kasikornbank “ธุรกิจค้าวัสดุก่อสร้าง ปรับกลยุทธ์รุกและรับ ฝ่าเศรษฐกิจครึ่งปีหลัง 59” PDF