สำหรับหลายคนอยู่ในละแวกทำเลทอง ซึ่งทำให้มองเห็นลู่ทางในการ เปิดร้านวัสดุก่อสร้าง แต่ยังเห็นภาพไม่ชัดว่าจะเริ่มต้นยังไงดี? รวมถึงมีคำถามบางอย่างที่ต้องการไอเดียหรือการสรุปเพื่อให้เห็นภาพมากขึ้นบทความนี้ PN จะรวบรวมคำถาม-คำตอบ มาให้คุณได้อ่านเพื่อนำไปข้อพิจารณากันค่ะ
1. ต้นทุนและรายจ่าย
ถาม : ใช้ต้นทุนลงสินค้าประมาณเท่าไหร่?
ตอบ : ต้นทุนขึ้นอยู่กับขนาดร้านค้าของคุณค่ะ ถ้าลงของเยอะ เปิดร้านขนาดใหญ่ ต้นทุนก็จะสูงตามไปด้วย ซึ่งแบ่งได้ตามนี้นะคะ
- ร้านขนาดเล็กมาก เริ่มต้น 150,000 บาท นี่เป็นราคาที่ต่ำที่สุดในการเปิดร้านวัสดุก่อสร้างแล้วค่ะ แต่ของในร้านคุณก็จะน้อยตามลงไปด้วย และคุณภาพอาจจะไม่ได้อย่างที่ลูกค้าต้องการ
- ร้านขนาดเล็ก เริ่มต้น 300,00-900,000 บาท ราคานี้เป็นราคากำลังดี ที่คนส่วนใหญ่แนะนำ เพราะของจะครบครันและมีคุณภาพมากขึ้น
- ร้านขนาดกลาง เริ่มต้น 1,000,000-5,000,000++ บาท ราคานี้สำหรับร้านที่อยากเปิดร้านวัสดุก่อสร้างแบบครบวงจร
- ร้านขนาดใหญ่ เริ่มต้น 10,000,000++ บาท สำหรับราคานี้จะเป็นร้านกลุ่มที่มีสินค้าครอบคลุมทุกอย่างในวงการก่อสร้าง ตั้งแต่เล็กไปถึงใหญ่ และมีบริการอย่างทั่วถึง
ปล. ราคานี้เป็นราคาสำหรับการลงของ ยังไม่รวมค่าเช่าที่, ค่าชั้นวางสินค้า, ค่าก่อสร้างร้าน, ค่าพนักงาน และอื่นๆอีกนะคะ
ถาม : ทำไมถึงแพงจัง?
ตอบ : สินค้าจำพวกวัสดุก่อสร้าง เป็นสินค้าที่จำเป็นต้องมีคุณภาพสูง เพราะถ้าใช้ของคุณภาพต่ำในการไปก่อสร้างบ้านและอาคาร มีความเสี่ยงสูงที่สิ่งก่อสร้างเหล่านั้นจะพังก่อนเวลาอันควร การที่คุณภาพสินค้าดี จะทำให้ราคาสูงตามไปด้วย อีกอย่างคือ การเปิดร้านแบบนี้จำเป็นต้องลงของเยอะ ๆ เพื่อให้ร้านมีความหลากหลาย ลูกค้าจะมีทางเลือกเยอะ น่าเข้าไปเลือกซื้อนั่นเองค่ะ
ถาม : เวลาเติมสต็อกสินค้าต้องใช้เงินกี่บาท?
ตอบ : ร้านขนาดเล็ก เริ่มต้นที่ 5,000 – 10,000++ บาท ถ้าร้านใหญ่ขึ้นก็จะมีราคาที่สูงขึ้นตามไปค่ะ
ถาม : ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ล่ะ?
ตอบ : ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ก็จะเป็นเรื่องค่าสถานที่, ค่าเช่าตึกร้านค้า, ค่าชั้นวางสินค้า ค่าจ้างพนักงาน (อย่างที่เรากล่าวไว้ข้างต้น ว่ายังไม่รวมกับค่าสต็อกสินค้า) ทั้งหมดนี้ก็ขึ้นอยู่กับขนาดของร้านของคุณอีกเช่นกัน
1) ร้านเล็ก-กลาง
- ค่าเช่าตึก 1-2 คูหา ราคา 15,000-50,000++ บาทต่อเดือน (ขึ้นอยู่กับทำเลร้านค้าและการคิดราคาของผู้ให้เช่า แต่กรณีนี้เราอ้างอิงราคาส่วนใหญ่จาก thaihometown )
- ค่าชั้นวางสินค้า ขนาดร้านตึกแถว 1 คูหา ราคาเริ่มต้น 200,000-600,000++ บาท (อ้างอิงจากราคาของ ชั้นวางสินค้า PN )
- ค่าจ้างพนักงาน 1 คน เฉลี่ย 10,000-15,000 ต่อเดือน (อ้างอิงจาก Careerjet.in.th)
2) ร้านขนาดใหญ่-ใหญ่มาก
- ค่าเช่าโกดัง ราคา 60,000-300,000++ ต่อเดือน (ขึ้นอยู่กับทำเลร้านค้าและการคิดราคาของผู้ให้เช่า แต่กรณีนี้เราอ้างอิงราคาส่วนใหญ่จาก thaihometown )
- ค่าชั้นวางสินค้า ขนาดโกดังราคาเริ่มต้น 700,000-1,000,000++ บาท
- ค่าจ้างพนักงาน 3-6 คน เฉลี่ยแบบรวม 30,000-60,000 บาท
2. การเริ่มต้นทำร้าน
ถาม : ต้องใช้อุปกรณ์อะไรบ้างในการทำร้าน?
ตอบ : ในการทำร้านควรจะมี 3 สิ่งนี้ก่อนเลยค่ะ
1) ชั้นวางสินค้า ชั้นวางสินค้าเป็นสิ่งสำคัญอันดับต้น ๆ ของการเปิดร้านวัสดุก่อสร้าง เพราะวัสดุเหล่านี้ มีลักษณะที่จำเพาะเจาะจง ยากที่จะใช้ชั้นวางแบบทั่ว ๆ ไป อย่างบางร้านมีสายไฟและสายยาง, ลวดเหล็ก, สว่าน, ประตู, กระเบื้อง ของเหล่านี้จะต้องใช้ชั้นวางแบบสั่งทำพิเศษ เพื่อให้โชว์สินค้าได้อย่างเหมาะสมและสวยงาม
★ ภาพตัวอย่าง ชั้นโชว์บานประตู จาก : ร้านห้าแยกกรุ๊ป
★ ภาพตัวชั้นแกนโรลโชว์สายไฟและสายยาง : ชั้นแกนโรล
2) รถขนของ สินค้าเหล่านี้ มันเป็นสิ่งของที่มีน้ำหนักมาก ต้องใช้การขนส่งอยู่บ่อยครั้ง หรือคุณอาจมีบริการขนส่งสินค้าถึงบ้านเพื่อตอบโจทย์ลูกค้า คุณจึงต้องมีรถกระบะหรือรถบรรทุกเพื่อขนสินค้าอยู่ประจำ
3) ระบบ POS เป็นระบบที่จะช่วยคุณในเรื่องการจัดการบัญชีการเงินเข้า-ออก, จำนวนสต็อกสินค้า และอื่นๆอีกมากมาย ถ้าคุณมีระบบนี้ติดตั้งไว้ในร้าน คุณจะจัดการทุกอย่างในร้านได้สะดวกมากกว่าเดิม ( แต่หากคุณยังไม่ทราบว่าระบบ POS คืออะไร อ่านบทความนี้เลยค่ะ >> จัดการทุกอย่างในร้านค้าให้ง่ายราวกับดีดนิ้ว!! ด้วย “ระบบ POS” )
ถาม : แบบร้านวัสดุก่อสร้างต้องเป็นยังไง?
ตอบ : ก่อนจะสร้างร้านค้าคุณจำเป็นต้องออกแบบวางแผนผังร้านค้าก่อน ซึ่งแบบร้านวัสดุก่อสร้างส่วนใหญ่จะจัดร้านให้เป็นระเบียบ มีโซนที่ชัดเจน เพื่อให้ลูกค้าหาของได้ง่าย
★ ภาพตัวอย่าง แบบชั้นวางร้านวัสดุก่อสร้างร้านฮาร์ดแวร์คิง (ขนาดใหญ่)
★ ภาพตัวอย่าง ชั้นวางสินค้าจากร้านฮาร์ดแวร์คิง (ขนาดใหญ่)
3. การสต็อกสินค้า
ถาม : สินค้าร้านวัสดุก่อสร้างที่ต้องสต็อกไว้?
ตอบ : ร้านวัสดุก่อสร้าง มีสินค้าจำเป็นสำหรับการสร้างบ้านหลากหลายมาก ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับกลุ่มเป้าหมายบริเวณทำเลร้านที่คุณเปิด ว่ามีความต้องการผลิตภัณฑ์แบบไหนบ้าง .
★ ตัวอย่างสินค้าที่ควรสต็อก
- กลุ่มไฟฟ้าและเครื่องมือช่าง เช่น สว่าน, สายไฟ
- กลุ่มสีและเคมีภัณฑ์ เช่น สีทาบ้าน, สเปรย์พ่น
- กลุ่มฮาร์ดแวร์และงานตกแต่ง เช่น ตู้เชื่อมเหล็ก, ประตู, กระเบื้อง
- กลุ่มงานประปา เช่น ข้อต่อท่อ PVC, ก๊อกน้ำ
- กลุ่มงานโครงสร้าง เช่น เหล็ก, อิฐ, หลังคา
- กลุ่มงานเกษตร เช่น เครื่องตัดหญ้า
ส่วนคุณจะนำสินค้ากลุ่มไหนมาขาย และเจาะไปที่กลุ่มใดเป็นพิเศษ ก็ลองพิจารณาดูนะคะ เราแนะนำให้ตอบโจทย์ลูกค้าในทำเลนั้น ๆ เป็นหลัก ดีกว่าจะแบ่งแยกว่าเปิดร้านวัสดุก่อสร้าง ก็เอาเฉพาะสินค้าก่อสร้างมาขาย หากลองพิจารณาตามความเป็นจริง ถ้าลูกค้าของคุณต้องการเครื่องมือช่างหรือฮาร์ดแวร์บางอย่างเพื่อนำไปใช้ในงานก่อสร้าง แต่ร้านของคุณไม่มีสินค้าให้ ร้านของคุณก็อาจจะเป็นร้านที่ไม่ตรงกับความต้องการของลูกค้าได้
Tip : อาจเริ่มจากเก็บข้อมูลเพื่อทำการสอบถามกลุ่มเป้าหมายจริง ๆ ก่อน ถามว่าพวกเขาขาดอุปกรณ์ตัวไหน หรือต้องการสินค้าตัวไหนมากเป็นพิเศษ ค่อย ๆ หาข้อมูลและเก็บประสบการณ์ไปก่อนก็ได้นะ
4. การบริหารจัดการ
ถาม : การบริหารร้านวัสดุก่อสร้าง?
ตอบ : ร้านวัสดุก่อสร้าง บริหารร้านค้าด้วยระบบซื้อมา-ขายไป จึงควรทำบัญชีให้รัดกุมมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และที่ขาดไม่ได้เลยคือการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีทั้งต่อลูกค้าเองและทุกคนที่ร่วมงานกับคุณ เพื่อรักษาฐานลูกค้าให้มาซื้อของกับเราเป็นประจำ รวมถึงสร้างพันธมิตรที่ดีทางธุรกิจเอาไว้ซึ่งการบริหารจัดการที่ดี จะต้องมีปัจจัยหลายอย่างด้วยกันค่ะ ในส่วนนี้ เราจะขอเขียนเพิ่มอีกบทความเพื่อจะได้เข้าใจง่าย และเจาะจงสำหรับคนที่ต้องการอยากรู้จริง ๆ อดใจรอกันไว้ก่อนนะคะ
ถาม : อนาคตร้านวัสดุก่อสร้างจะรอดไหม?
ตอบ : การที่กิจการจะประสบความสำเร็จหรือสร้างกำไรได้นั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างอีกเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น การเลือกทำเล, การนำเสนอสินค้าและบริการ, เทคนิคการขาย, การจัดร้าน, การสร้างแบรนด์เพิ่มความเชื่อมั่นให้ลูกค้า (หากอยากรู้เทคนิคการขายวัสดุก่อสร้างเพิ่มเติม อ่านต่อได้ที่ : เทคนิคการขายวัสดุก่อสร้างยังไง.. ให้ลูกค้ากลับมาซื้อซ้ำ )
คุณจะเห็นว่า แบรนด์ร้านวัสดุก่อสร้างใหญ่ ๆ อย่าง ไทวัสดุ, บุญถาวร, โฮมโปร ที่พวกเขาครองใจลูกค้าและเป็นที่นิยมได้นั่นก็เพราะเขาสร้างแบรนด์และทำการตลาดมาอย่างดี ประกอบกับเทคนิคต่าง ๆ ที่เราได้กล่าวมานั่นเอง (หรือสามารถอ่านบทความเกี่ยวกับ อนาคตร้านวัสดุก่อสร้าง ☚ แบบเต็ม ๆ ได้ลิ้งค์นี้)
อ่านบทความเพิ่มเติม :
✔ สรุป
เชื่อว่าหลาย ๆ คนที่กำลังคิดอยากเปิดร้านวัสดุก่อสร้าง คงจะได้ข้อมูลคร่าว ๆ เพื่อไปประกอบการตัดสินใจได้บ้าง
แต่การลงทุนมีความเสี่ยง
เพราะร้านแบบนี้ต้องใช้ต้นทุนจำนวนมาก ถ้าไม่ศึกษาให้ละเอียดแล้วรีบเปิด อาจส่งผลให้ประสบความสำเร็จได้ยาก ฉะนั้นคุณควรศึกษาข้อมูลจากหลาย ๆ แหล่งความรู้ หรือสอบถามผู้เชี่ยวชาญที่เคยเปิดร้านแบบนี้มาก่อน เพื่อให้ได้สิ่งที่เป็นประโยชน์กับตัวคุณมากที่สุดนะคะ
References :
- ช่างแขก จัดให้ “เปิดร้านขายอุปกรณ์ก่อสร้างลงทุนเท่าไรดี” 9/10/2019 youtube.com
- Pantip “อยากเปิดร้านขายวัสดุก่อสร้างต้องทำยังไง ใช้ทุนประมาณเท่าไหร่คะ?” topic/34752064
- Thaiwinner “เปิดร้านวัสดุก่อสร้างเริ่มยังไง? ใช้ทุนเท่าไร? อนาคตดีไหม?” thaiwinner.com
- torpvc “13 เรื่องห้ามพลาดก่อนขายวัสดุก่อสร้าง – แชร์ประสบการณ์ 20 ปี” torpvc.com
- kasikornbank “ธุรกิจค้าวัสดุก่อสร้าง ปรับกลยุทธ์รุกและรับ ฝ่าเศรษฐกิจครึ่งปีหลัง 59” PDF